ตัววิ่ง

โค้ดตัวอักษรวิ่ง ยินดีต้อนรับสู่บล็อกสังคมศึกษาของนางสาวลลิตา รอดประเสริฐ

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล

      ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล
          เมื่อสังคมแต่ละสังคมได้สร้างวัฒนธรรมของตนเองขึ้นมาและมีเอกลักษณ์เฉพาะ  ที่ตั้งอยู่บนสภาวะแวดล้อมทางกายภาพและสังคม  หรือบริบทของสังคมนั้นๆ  แต่วัฒนธรรมของสังคมทุกสังคมมีความคล้อยคลึงกัน มีวัฒนธรรมพื้นฐานที่เหมือนกัน  นักมานุษยวิทยาและนักสังคมวิทยา  เรียกกันว่า “วัฒนธรรมสากล (global culture)”  แม้จะมีวัฒนธรรมพื้นฐานที่เหมือนกัน  แต่วัฒนธรรมแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน  ดังตัวอย่างเช่น  ทุกสังคมจะมีภาษา  แต่ภาษาของแต่ละสังคมจะแตกต่างกัน  บางสังคมใช้ภาษาไทย  บางสังคมใช้ภาษาอังกฤษ  และบางสังคมใช้ภาษาอาหรับ เป็นตน
          อีกนัยหนี่งกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมสากล  ก็คือการแพร่กระจายของวัฒนธรรมที่มีอิพลเหนือกว่าไปสู้วัฒนธรรมที่อ่อนแอกว่า  ทำให้เกิดการยอมรับและนำไปปฏิบัติตามในสังคมอื่นทั่วทุกภูมิภาคของโลก  จนในที่สุดมีการเรียกวัฒนธรรมสั้นว่าเป็นวัฒนธรรมสากล เช่น ภาษาอังกฤษเครื่องมีเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์  ยาแผนปัจจุบัน  สถาปัตยกรรมสมัยใหม่  เป็นต้น
          โดยวัฒนธรรมสากลมีความแตกต่างจากวัฒนธรรมไทยอยู่หลายประการด้วยกัน   ดังนี้
          1)  เน้นปรัชญาว่า  “มนุษย์เป็นนายธรรมชาติ”  สามารถบังคบธรรมชาติให้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ทั้งหมด  เช่น  การเดินทางด้วยสองเท้าใช้เวลานานก็เลยประดิษฐ์รถยนต์  เครื่องบิน  ขึ้นมาเป็นพาหนะที่ใช้ในการเดินทางแทน เป็นต้น  แต่สำหรับวัฒนธรรมไทยนั้นเน้นปรัชญาว่า  “มนุษย์ควรอยู่แบบผสมกลมกลืนกับธรรมชาติ”  ดังนั้นคนไทยจึงนิยมสร้างวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติ
          2)  เน้นทวิโลกทัศน์  ชาวตะวันตกแบ่งทุกสิ่งออกเป็น 2 ส่วนเสมอ เช่น ขาว-ดำ  ดี-เลว  ทันสมัย-ล้าสมัย  จึงมีการแก้ไขความพยายามที่ปรับเปลี่ยนสิ่งล้าสมัยให้มีความทันสมัย  เน้นให้สิ่งดีงามเหนือความเลว
          ในขณะที่วัฒนธรรมไทยเน้นการมองโลกเป็นองค์รวม  ไม่แยก ขาว-ดำ  ดี-เลว  แต่มองว่าโลกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  มีองค์ประกอบทั่งหลายที่ช่วยส่งเสริมจรรโลงโลกให้มีความสมดุล น่าอยู่รื่นรมย์ และสงบสุข
          3)เน้นวิธีการทางวิทยาศาตร์  ที่ตั้งอยู่บนเหตุผลของปัจจัยที่สามารถสัมผัสได้ โดยมีการตั้งสมมติฐาน  พิสูจน์ปัจจัยต่างๆ  ว่าเป็นตามสมมติฐานหรือไม่ วิเคราะห์ สังเคราะห์ให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ  เพื่อนำไปสร้างทฤษฎีและนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ดังนั้น  ชาติตะวันตกจึงสามารถสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย สอดคล้องกับเทคโนโลยีชั้นสูง  แต่สำหรับวัฒนธรรมไทยแม้นว่าจะอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาตร์เช่นกัน  แต่มักเน้นการนำปัจจัยทีสัมผัสได้มาศึกษาร่วมกับปัจจัยทางจิตใจและตามความคิดเชื่อของหลักธรรมทางศาสนาควบคู่ไปด้วย  เพราะวัฒนธรรมไทยสท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่โยงใยกัน 3 ด้าย คือ
               1.  ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับโลก สิ่งแวดล้อม พืช และ สัตว์
               2.  ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์  หรือระหว่างตัวเรากับคนอื่นๆที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคม
               3.  ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งศักสิทธิ์และอำนาจนอกเหนือธรรมชาติ  ทำให้วัฒนธรรมไทยมีขอบเขตที่กว้างขว้าง  ครอบคลุมความสัมพันธ์ทุกประเภทของกรดำเนินชีวิตของคนในสังคม ทั้งทีเป็นรูปธรรมและนามธรรม

6.  แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่ดีงาม
          สังคมและวัฒนธรรมไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่  แต่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและเกี่ยวพันกับปัจจัยภายในและภายนอกที่เข้ามากระทบ  ดังนั้นวัฒนธรรมอาจเหมาะสมกับสภาพสังคมในยุคหนึ่ง  แต่อาจไม่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของคนในสังคมในอีกยุคหนึ่งก็ได้
          แต่ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงไม่ได้หมายถึงการละทิ้งวัฒนธรรมของตนไปอย่างชิ้นเชิง  และหันไปรับวัฒนธรรมของสังคมอื่นมาใช้ทั้งหมด  เพราะรากเหง้าของวัฒนธรรมไทยได้สร้างและสั่งสมมาให้สอดคล้องกับสังคมไทยมาช้านาน  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลมาจากลักษณะบางอย่างไม่ตอบสนองความต้องการของสมาชิกในปัจจุบัน  จึงได้นำสิ่งประดิษฐ์มาคิดค้นใหม่  หรือหยิบยืมวัฒนธรรมของต่างชาติมาใช้ทดแทนบ้าง  แต่เราก็มีความจำเป็นที่จะต้องมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยเอาไว้  เพราะหารไม่มีการอนุรักษ์แล้ว  วัฒนธรรมของสังคมอื่นๆก็จะเข้ามาครอบงำและจะต้องตกเป็นเมืองขึ้นทางวัฒนธรรมของสังคมอื่นไป
          การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย  เราอาจจะมองได้ 2 ระดับ ระดับที่หนึ่ง คือ การอนุรักษ์สงวนรักษาวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยให้คงอยู่ตลอดไป  ส่วนระดับที่สอง คือ  คนไทยจะต้องพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมของตนให้ทันสมัย สอดคล้องกับสภาพสังคมในยุคปัจจุบัน
          วัฒนธรรมประจำชาติท้องถิ่น  จัดเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูง  ควรค่าแก่การอนุรักษ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนบธรรมเนียมประเพณี  โบราณสถาน   โบราณวัตถุ ภาษาวัตถุ ภาษา วรรณกรรม  และภูมิปัญญา  ซื่งได้ได้บรรลุและสั่งสมความรู้  ความหมาย และคุณค่าทางวัฒนธรรมที่มีมาแต่อดีตให้คนรุ่นต่อมาได้เรียนรู้ เพื่อรู้จักตนเองและมีความภูมิใจในความเป็นชาติไทย  โดยส่วนรวมสิ่งเหล่านี้สูญหายไป  หากขาดการเอาใจใส่ในการอนุรักษ์และส่งเสริมในทางที่ถูกที่ควร   อ่านเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น