ตัววิ่ง

โค้ดตัวอักษรวิ่ง ยินดีต้อนรับสู่บล็อกสังคมศึกษาของนางสาวลลิตา รอดประเสริฐ

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

สถานะของพระมหากษัตริย์

พระราชสถานะทางสังคม


สังคมไทยยกย่องเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันคู่บ้านคู่เมือง เป็นสัญลักษณ์ของชาติ ทรงได้รับการเชิดชูจากสังคมไทย ดังนี้

1. ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงทำให้เกิดความสำนึกในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้ทุกสถาบันมีจุดรวมจากแหล่งเดียวกัน แม้จะมีความแตกต่างกันในด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา ก็มีความสมานสามัคคีกลมเกลียวกันในหมู่ชนเหล่านั้น ทรงรักใคร่ห่วงใยประชาชน ทรงมีเมตตาต่อประชาชนทุกหมู่เหล่า พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นถิ่นทุรกันดารหรือมีอันตรายเพียงใด เพื่อทรงทราบถึงทุกข์สุขของประชาชน ประชาชนก็มีความผูกกันกับพระมหากษัตริย์อย่างลึกซึ้ง แน่นแฟ้น มั่นคง จนยากที่จะทำให้สั่นคลอนหรือแตกแยกได้

2. ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งความต่อเนื่องของชาติ พระมหากษัตรีย์ทรงเป็นประมุขของชาติไทยสืบต่อกันมาโดยไม่ขาดสายตั้งแต่ อาณาจักรไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่ารัฐบาลจะเปลี่ยนไปกี่ยุคสมัยก็ตาม ทำให้ระบบการเมืองและชาติไทยมีความสมานฉันท์และต่อเนื่องตลอดเวลา

3. ทรงเป็นพลังในการสร้างขวัญและกำลังใจของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาของแหล่งเกียรติยศทั้งปวง ก่อให้เกิดความภาคภูมิ ปิติยินดี และเกิดกำลังใจในหมู่ประชาชนทั่วไปที่จะรักษาคุณงามความดีและพยายามกระทำความดี เพื่อให้พระมหากษัตริย์สบายพระทัย

4. ทรงมีส่วนสำคัญในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงขึ้นครองราชย์ด้วยความเห็นชอบยอมรับของประชาชน และทรงใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชนในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและบ้านเมืองเป็นสำคัญ ซึ่งอาจต่างจาก

ประมุขของประเทศอื่นที่ขึ้นดำรงตำแหน่งโดยการเลือกตั้ง จึงต้องยึดนโยบายของกลุ่มหรือพรรคการเมืองที่ตนสังกัดเป็นหลัก

5. ทรงแก้ไขวิกฤตการณ์ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นกลไกสำคัญในการยับยั้งและแก้ไขวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงภายในประเทศได้ ในบางครั้งประเทศไทยเกิดการขัดแย้งกันเองตามระบอบประชาธิปไตย พระมหากษัตริย์ ก็สามารถยุติได้ด้วยพระบารมีของพระองค์ เช่น เหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยเมืองเดือนตุลาคม 2516 และเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 เป็นต้น

6. ทรงส่งเสริมความมั่นคงของประเทศ พระมหากษัตริย์เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ทั้งประชาชน รัฐบาล หน่วยราชการ กองทัพ นิสิต นักศึกษา ปัญญาชน หรือกลุ่มต่าง ๆ แม้กระทั่งชนกลุ่มน้อยในประเทศ เช่น ชาวไทยภูเขา ชาวไทยมุสลิม เป็นต้น ทำให้ทุกฝ่ายมีความมุ่งมั่นและมีความพรักพร้อมที่จะรักษาความมั่นคงและเอกราชของชาติไว้

7. ทรงมีส่วนเสริมสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตได้ทรงดำเนินวิเทโศบายได้อย่างดีจนสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ โดยเฉพาะสมัยการล่าเมืองขึ้นของชาติตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจในยุโรป สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ก็ทรงดำเนินการให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศต่าง ๆ กับประเทศไทย โดยเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยือนประเทศต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 31 ประเทศ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับต่างประเทศดำเนินไปได้อย่างสะดวกและราบรื่น

8. ทรงเป็นผู้นำในการพัฒนาและปฏิรูปด้านต่าง ๆ การพัฒนาและการปฏิรูปที่สำคัญ ๆ ของชาติส่วนใหญ่ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำ ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงปูพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยจัดตั้งกระทรวงต่าง ๆ ทรงส่งเสริมการศึกษาและเลิกทาส กระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบันได้ทรงเกื้อหนุนวิทยาการสาขาต่าง ๆ ทรงสนับสนุนการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม ทรงริเริ่มกิจการอันเป็นการแก้ปัญหาหลัก ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ผ่านโครงการ

พระราชดำริ ซึ่งมุ่งเน้นการแก้ปัญหาให้แก่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ได้แก่ ชาวนา ชาวไร่ และประชาชนผู้ด้อยโอกาส เช่น โครงการพัฒนาที่ดิน โครงการสหกรณ์ โครงการพัฒนาชาวเขา และการเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นต้น

9. ทรงมีส่วนเกื้อหนุนระบอบประชาธิปไตย สถาบันพระมหากษัตริย์มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยให้มีความเข้มแข็งและมั่นคง เพราะการที่ประชาชนเกิดความจงรักภักดีและเชื่อมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้ประชาชน

เกิดความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วย เนื่องจากเห็นว่าเป็นระบอบการปกครองที่เชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะของประชนนั่นเอง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น