ความหมายของ “พลเมืองดี” ในวิถีชีวิตประชาธิปไตย
พจนานุกรมนักเรียนฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำต่าง ๆ ดังนี้
“พลเมือง” หมายถึง ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน
“วิถี” หมายถึง สาย แนว ทาง ถนน
“ประชาธิปไตย” หมายถึง แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่
ดังนั้นคำว่า “พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย” จึงหมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นผู้ที่ยึดมั่น
ในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฏิบัติตนตามกฎหมาย
ดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ
ให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริงหลักการทางประชาธิปไตย
หลักการทางประชาธิปไตยที่สำคัญ ได้แก่
1) หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน หมายถึง ประชาชนเป็นเจ้าของ อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ
2) หลักความเสมอภาค หมายถึง ความเท่าเทียมกันในสังคมประชาธิปไตย ถือว่าทุกคนที่เกิดมาจะมีความ
เท่าเทียมกันในฐานะการเป็นประชากรของรัฐ ได้แก่ มีสิทธิเสรีภาพ มีหน้าที่เสมอภาคกัน ไม่มีการแบ่งชนชั้น
หรือการเลือกปฏิบัติ ควรดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่ข่มเหงรังแกคนที่อ่อนแอหรือยากจนกว่า
3) หลักนิติธรรม หมายถึง การใช้หลักกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกัน เพื่อความสงบสุขของสังคม
4) หลักเหตุผล หมายถึง การใช้เหตุผลที่ถูกต้องในการตัดสินหรือยุติปัญหาในสังคม
5) หลักการถือเสียงข้างมาก หมายถึง การลงมติโดยยอมรับเสียงส่วนใหญ่ในสังคมประชาธิปไตย ครอบครัว
อ่านเพิ่มเติม
วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558
การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
การประสานประโยชน์
การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและปกป้องผลประโยชน์ของตนและเป็นการระงับกรณีความขัดแย้งที่มาจากการแข่งขันทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
การประสานประโยชน์หรือความร่วมมือระหว่างประเทศนั้น นอกจากเป็นหนทางในการสร้างสันติภาพแลยังเป็นการประสานผลประโยชน์ร่วมกันทั้งทางด้านการค้า การทหาร ตลอดจนวัฒนธรรม จึงทำให้ประเทศ ต่างๆ เห็นความสำคัญในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศเพื่อประสานผลประโยชน์ในด้านต่างๆ ของตน
ประเภทของความร่วมมือระหว่างประเทศ
1. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านเมือง เป็นความร่วมมือของประเทศต่างๆ ที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย
2. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านทหาร ในการให้ความช่วยเหลือทางด้านการทหารต่อกัน เช่น องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต เป็นต้น
3. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ เป็นการร่วมมือเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งหลายประเทศจะร่วมมือกันจัดตั้งเป็นกลุ่มเศรษฐกิจ เช่น สหภาพยุโรป เอเปก องค์การการค้าโลก เป็นต้น
4. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านการศึกษา วัฒนธรรม และอื่นๆ ในการให้ความช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความรู้และอื่นๆ เพื่อเกิดความเข้าใจอันดี ความก้าวหน้า การพิทักษ์คุ้มครองในแต่ละด้านที่มีการตกลงร่วมมือกัน ความร่วมมือด้านนี้ เช่น องค์การยูเนสโก อาเซียน เป็นต้น
5. ความร่วมมือระหว่างประเทศที่เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นที่ได้รับความ เดือดร้อน เช่น ผู้ได้รับภัยพิบัติ ผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ผู้อพยพจากภัยสงคราม เป็นต้น ความร่วมมือลักษณะนี้ เช่น กองทุนเด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟ เป็นต้น
องค์การระหว่างประเทศ
องค์การระหว่างประเทศ หมายถึง องค์การที่รัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปร่วมกันก่อตั้ง มีการประชุมร่วมกันเป็นประจำและมีเจ้าหน้าที่ทำงานเต็มเวลา นโยบายขององค์การระหว่างประเทศจะเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมของรัฐสมาชิกการเข้าเป็นสมาชิกเป็นไปตามความสมัครใจของรัฐ
องค์การระหว่างประเทศตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ในการธำรงรักษาสันติภาพและแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศนั้นจะมีลักษณะเป็นสากล เช่น องค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีแนวทางในการแก้ไขความขัดแย้งต่างๆ ถ้าวัตถุประสงค์ที่จัดตั้งมีลักษณะเฉพาะในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มประเทศ องค์การระหว่างประเทศนั้นจะเป็นองค์การระดับภูมิภาค เช่น องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต องค์การระหว่างประเทศจึงเป็นภาพสะท้อนความพยายามของรัฐต่างๆ เพื่อรักษาสันติภาพหรือพยายามยับยั้งการใช้กำลังรุนแรงเข้าตัดสินความขัดแย้งระหว่างประเทศ
อ่านเพิ่มเติม
การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและปกป้องผลประโยชน์ของตนและเป็นการระงับกรณีความขัดแย้งที่มาจากการแข่งขันทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
การประสานประโยชน์หรือความร่วมมือระหว่างประเทศนั้น นอกจากเป็นหนทางในการสร้างสันติภาพแลยังเป็นการประสานผลประโยชน์ร่วมกันทั้งทางด้านการค้า การทหาร ตลอดจนวัฒนธรรม จึงทำให้ประเทศ ต่างๆ เห็นความสำคัญในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศเพื่อประสานผลประโยชน์ในด้านต่างๆ ของตน
ประเภทของความร่วมมือระหว่างประเทศ
1. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านเมือง เป็นความร่วมมือของประเทศต่างๆ ที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย
2. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านทหาร ในการให้ความช่วยเหลือทางด้านการทหารต่อกัน เช่น องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต เป็นต้น
3. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ เป็นการร่วมมือเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งหลายประเทศจะร่วมมือกันจัดตั้งเป็นกลุ่มเศรษฐกิจ เช่น สหภาพยุโรป เอเปก องค์การการค้าโลก เป็นต้น
4. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านการศึกษา วัฒนธรรม และอื่นๆ ในการให้ความช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความรู้และอื่นๆ เพื่อเกิดความเข้าใจอันดี ความก้าวหน้า การพิทักษ์คุ้มครองในแต่ละด้านที่มีการตกลงร่วมมือกัน ความร่วมมือด้านนี้ เช่น องค์การยูเนสโก อาเซียน เป็นต้น
5. ความร่วมมือระหว่างประเทศที่เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นที่ได้รับความ เดือดร้อน เช่น ผู้ได้รับภัยพิบัติ ผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ผู้อพยพจากภัยสงคราม เป็นต้น ความร่วมมือลักษณะนี้ เช่น กองทุนเด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟ เป็นต้น
องค์การระหว่างประเทศ
องค์การระหว่างประเทศ หมายถึง องค์การที่รัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปร่วมกันก่อตั้ง มีการประชุมร่วมกันเป็นประจำและมีเจ้าหน้าที่ทำงานเต็มเวลา นโยบายขององค์การระหว่างประเทศจะเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมของรัฐสมาชิกการเข้าเป็นสมาชิกเป็นไปตามความสมัครใจของรัฐ
องค์การระหว่างประเทศตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ในการธำรงรักษาสันติภาพและแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศนั้นจะมีลักษณะเป็นสากล เช่น องค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีแนวทางในการแก้ไขความขัดแย้งต่างๆ ถ้าวัตถุประสงค์ที่จัดตั้งมีลักษณะเฉพาะในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มประเทศ องค์การระหว่างประเทศนั้นจะเป็นองค์การระดับภูมิภาค เช่น องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต องค์การระหว่างประเทศจึงเป็นภาพสะท้อนความพยายามของรัฐต่างๆ เพื่อรักษาสันติภาพหรือพยายามยับยั้งการใช้กำลังรุนแรงเข้าตัดสินความขัดแย้งระหว่างประเทศ
อ่านเพิ่มเติม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความหมาย
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยรัฐหรือตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสังคม ซึ่งเกิดขึ้นข้ามขอบเขตของกลุ่มสังคมการเมืองหนึ่ง ๆ ในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยด้วยกัน หรือกลุ่มคนไทยด้วยกันในประเทศไทย ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับคนลาวถือว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือ และความขัดแย้งระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมโลก
ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐดังที่กล่าวข้างต้นนั้น อาจมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
1. ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาจกระทำอย่างเป็นทางการโดยรัฐ หรือโดยตัวแทนที่ชอบธรรมของรัฐ เช่นการประชุมสุดยอด การดำเนินการทางการฑูต การแถลงการณ์ประท้วง การยื่นประท้วงต่อองค์การสหประชาชาติ หรืออาจเป็นการกระทำไม่เป็นทางการ เช่น การก่อการร้าย การกระทำจารกรรม การโจมตีประเทศหนึ่งโดยสื่อมวลชนของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งไม่ได้กระทำการในนามของรัฐ เป็นต้น
2. ความสัมพันธ์ในลักษณะร่วมมือหรือขัดแย้ง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น หากไม่ร่วมมือก็ขัดแย้ง ความสัมพันธ์ในลักษณะขัดแย้ง เช่น สงคราม การแทรกแซงบ่อนทำลาย การขยายจักรวรรดินิยม การผนวกดินแดนของอีกประเทศหนึ่ง ส่วนความร่วมมือ ได้แก่ การกระชับความสัมพันธ์ทางการฑูต การร่วมเป็นพันธมิตร การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและวัฒนธรรมเป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ต่าง ๆ นี้อาจมีลักษณะผสมผสานกันได้ เช่น บางครั้งรุนแรง บางครั้งนุ่มนวล บางครั้งเป็นทางการ บางครั้งกึ่งทางการ หรือบางครั้งร่วมมือในเรื่องหนึ่งแต่ขัดแย้งในอีกเรื่องหนึ่ง เป็นต้น
ขอบเขตของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีขอบเขตที่ครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ทางการเมือง หมายถึง กิจกรรมข้ามพรมแดนเพื่อมีอิทธิพลหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรตลอดจนการตัดสินใจขององค์การหรือรัฐบางต่างประเทศ เช่น การดำเนินการทางการฑูต การทหาร การแสวงหาพันธมิตร การแทรกแซงบ่อนทำลายประเทศอื่น การใช้กำลังบีบบังคับ การกำหนดและดำเนินนโยบายต่างประเทศ เป็นต้น กิจกรรมบางเรื่องอาจไม่เป็นกิจกรรมการเมืองโดยตรง แต่หากมีวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น ก็ถือเป็นกิจกรรมการเมืองเช่นกัน เช่น การแลกเปลี่ยนทีมนักปิงปองระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2514 มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองเนื่องจากประเทศทั้งสองต้องการใช้กีฬาเป็นเครื่องมือผ่อนคลายความตึงเครียด และรื้อฟื้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ หลังจากเป็นศัตรูกันมาตลอด กิจกรรมเช่นนี้เรียกว่า การเมืองระหว่างประเทศ
2. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ หมายถึง กิจกรรมการแลกเปลี่ยนทรัพยากรด้านบริการหรือวัตถุเพื่อตอบสนองความต้องการในการอุปโภคของผู้แลกเปลี่ยน เช่น การซื้อขายสินค้า การให้ทุนกู้ยืม การธนาคาร เป็นต้น เนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรแตกต่างและไม่เท่าเทียมกัน และยังต้องการทรัพยากรของประเทศอื่นหรือบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกามีทรัพยากรน้ำมัน แต่ยังต้องการรักษาน้ำมันสำรองในปัจจุบันจึงซื้อน้ำมันจากประเทศเม็กซิโก และประเทศอาหรับ ความต้องการทรัพยากรซึ่งกันและกันเช่นนี้ทำให้เกิดความสัมพันธ์เพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากร (วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เกษตรกรรม เทคโนโลยี บริการ ฯลฯ) โดยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าโดยการซื้อขาย ให้ แลกเปลี่ยน ยืม ก็ตาม โดยมีกฎเกณฑ์หรือแนวทางปฏิบัติบางประการทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร การปิดล้อมทางเศรษฐกิจ การตั้งกำแพงภาษี การกำหนดอัตราหุ้นและดอกเบี้ย เป็นต้น ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเช่นนี้ เรียกว่า เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
3. ความสัมพันธ์ทางสังคม หมายถึง กิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา การศาสนา วัฒนธรรม การพักผ่อนหย่อนใจ การท่องเที่ยว ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมข้ามขอบเขตพรมแดนของรัฐ เช่น การส่งฑูตวัฒนธรรมหรือคณะนาฎศิลป์ไปแสดงในประเทศต่าง ๆ การเผยแพร่ศาสนาโดยตัวแทนทางศาสนาของประเทศอื่น การเผยแพร่ศิลปะของประเทศหนึ่งในประเทศอื่น เป็นต้น
4. ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย เมื่อมีการแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ข้ามเขตพรมแดนของรัฐมากขึ้น เพื่อให้กิจกรรมดังกล่าวดำเนินไปโดยเรียบร้อยและมีระเบียบแบบแผน ประเทศต่าง ๆ จึงได้กำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือแนวทางปฏิบัติที่แต่ละประเทศพึงยึดถือปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ขึ้น กฎเกณฑ์หรือระเบียบนี้อาจปรากฏในรูปข้อตกลงลายลักษณ์อักษร ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เป็นต้นว่า สนธิสัญญา อนุสัญญา กติกาสัญญา กฎบัตร ความตกลง ฯลฯ
5. ความสัมพันธ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ประเภทนี้มุ่งให้มีการแลกเปลี่ยนพัฒนาความรู้และความช่วยเหลือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น มีการร่วมมือกันค้นคว้าทดลองและวิจัยในบริเวณทวีปแอนตาร์กติกา การร่วมมือกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์หลายประเทศ เพื่อกำจัดโรคภัยไข้เจ็บสำคัญ เช่น โรคมะเร็ง การร่วมมือกันส่งเสริมพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การให้รางวัลระหว่างประเทศ จัดการประชุมสัมมนาระหว่างประเทศ เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความหมาย
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยรัฐหรือตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสังคม ซึ่งเกิดขึ้นข้ามขอบเขตของกลุ่มสังคมการเมืองหนึ่ง ๆ ในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยด้วยกัน หรือกลุ่มคนไทยด้วยกันในประเทศไทย ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับคนลาวถือว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือ และความขัดแย้งระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมโลก
ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐดังที่กล่าวข้างต้นนั้น อาจมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
1. ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาจกระทำอย่างเป็นทางการโดยรัฐ หรือโดยตัวแทนที่ชอบธรรมของรัฐ เช่นการประชุมสุดยอด การดำเนินการทางการฑูต การแถลงการณ์ประท้วง การยื่นประท้วงต่อองค์การสหประชาชาติ หรืออาจเป็นการกระทำไม่เป็นทางการ เช่น การก่อการร้าย การกระทำจารกรรม การโจมตีประเทศหนึ่งโดยสื่อมวลชนของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งไม่ได้กระทำการในนามของรัฐ เป็นต้น
2. ความสัมพันธ์ในลักษณะร่วมมือหรือขัดแย้ง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น หากไม่ร่วมมือก็ขัดแย้ง ความสัมพันธ์ในลักษณะขัดแย้ง เช่น สงคราม การแทรกแซงบ่อนทำลาย การขยายจักรวรรดินิยม การผนวกดินแดนของอีกประเทศหนึ่ง ส่วนความร่วมมือ ได้แก่ การกระชับความสัมพันธ์ทางการฑูต การร่วมเป็นพันธมิตร การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและวัฒนธรรมเป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ต่าง ๆ นี้อาจมีลักษณะผสมผสานกันได้ เช่น บางครั้งรุนแรง บางครั้งนุ่มนวล บางครั้งเป็นทางการ บางครั้งกึ่งทางการ หรือบางครั้งร่วมมือในเรื่องหนึ่งแต่ขัดแย้งในอีกเรื่องหนึ่ง เป็นต้น
ขอบเขตของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีขอบเขตที่ครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ทางการเมือง หมายถึง กิจกรรมข้ามพรมแดนเพื่อมีอิทธิพลหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรตลอดจนการตัดสินใจขององค์การหรือรัฐบางต่างประเทศ เช่น การดำเนินการทางการฑูต การทหาร การแสวงหาพันธมิตร การแทรกแซงบ่อนทำลายประเทศอื่น การใช้กำลังบีบบังคับ การกำหนดและดำเนินนโยบายต่างประเทศ เป็นต้น กิจกรรมบางเรื่องอาจไม่เป็นกิจกรรมการเมืองโดยตรง แต่หากมีวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น ก็ถือเป็นกิจกรรมการเมืองเช่นกัน เช่น การแลกเปลี่ยนทีมนักปิงปองระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2514 มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองเนื่องจากประเทศทั้งสองต้องการใช้กีฬาเป็นเครื่องมือผ่อนคลายความตึงเครียด และรื้อฟื้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ หลังจากเป็นศัตรูกันมาตลอด กิจกรรมเช่นนี้เรียกว่า การเมืองระหว่างประเทศ
2. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ หมายถึง กิจกรรมการแลกเปลี่ยนทรัพยากรด้านบริการหรือวัตถุเพื่อตอบสนองความต้องการในการอุปโภคของผู้แลกเปลี่ยน เช่น การซื้อขายสินค้า การให้ทุนกู้ยืม การธนาคาร เป็นต้น เนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรแตกต่างและไม่เท่าเทียมกัน และยังต้องการทรัพยากรของประเทศอื่นหรือบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกามีทรัพยากรน้ำมัน แต่ยังต้องการรักษาน้ำมันสำรองในปัจจุบันจึงซื้อน้ำมันจากประเทศเม็กซิโก และประเทศอาหรับ ความต้องการทรัพยากรซึ่งกันและกันเช่นนี้ทำให้เกิดความสัมพันธ์เพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากร (วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เกษตรกรรม เทคโนโลยี บริการ ฯลฯ) โดยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าโดยการซื้อขาย ให้ แลกเปลี่ยน ยืม ก็ตาม โดยมีกฎเกณฑ์หรือแนวทางปฏิบัติบางประการทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร การปิดล้อมทางเศรษฐกิจ การตั้งกำแพงภาษี การกำหนดอัตราหุ้นและดอกเบี้ย เป็นต้น ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเช่นนี้ เรียกว่า เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
3. ความสัมพันธ์ทางสังคม หมายถึง กิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา การศาสนา วัฒนธรรม การพักผ่อนหย่อนใจ การท่องเที่ยว ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมข้ามขอบเขตพรมแดนของรัฐ เช่น การส่งฑูตวัฒนธรรมหรือคณะนาฎศิลป์ไปแสดงในประเทศต่าง ๆ การเผยแพร่ศาสนาโดยตัวแทนทางศาสนาของประเทศอื่น การเผยแพร่ศิลปะของประเทศหนึ่งในประเทศอื่น เป็นต้น
4. ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย เมื่อมีการแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ข้ามเขตพรมแดนของรัฐมากขึ้น เพื่อให้กิจกรรมดังกล่าวดำเนินไปโดยเรียบร้อยและมีระเบียบแบบแผน ประเทศต่าง ๆ จึงได้กำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือแนวทางปฏิบัติที่แต่ละประเทศพึงยึดถือปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ขึ้น กฎเกณฑ์หรือระเบียบนี้อาจปรากฏในรูปข้อตกลงลายลักษณ์อักษร ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เป็นต้นว่า สนธิสัญญา อนุสัญญา กติกาสัญญา กฎบัตร ความตกลง ฯลฯ
5. ความสัมพันธ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ประเภทนี้มุ่งให้มีการแลกเปลี่ยนพัฒนาความรู้และความช่วยเหลือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น มีการร่วมมือกันค้นคว้าทดลองและวิจัยในบริเวณทวีปแอนตาร์กติกา การร่วมมือกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์หลายประเทศ เพื่อกำจัดโรคภัยไข้เจ็บสำคัญ เช่น โรคมะเร็ง การร่วมมือกันส่งเสริมพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การให้รางวัลระหว่างประเทศ จัดการประชุมสัมมนาระหว่างประเทศ เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน (Human Right)
สิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
1. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) หมายถึง คุณสมบัติ จิตใจ สิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวนของมนุษย์ทุกคน และรักษาไว้มิให้บุคคลอื่นมาล่วงละเมิดได้ การถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครองและได้รับความยุติธรรมจากรัฐ
2. สาเหตุที่มนุษย์ต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เกิดจาก
1. มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วย่อมมีสิทธิในตัวเอง
2. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม
3. มนุษย์มีเกียรติภูมิที่เกิดมาเป็นมนุษย์
4. มนุษย์ทุกคนเกิดมามีฐานะไม่เท่าเทียมกัน
3. หลักการสำคัญที่สุดของสิทธิมนุษยชน คือ มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ และกำหนดให้รัฐบาล ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐดำเนินการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคน
4. การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
1. สังคมไทยเป็นสังคมที่ต่างเชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพันธุ์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ จนกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นไทยโดยไม่มีการแตกแยก ยอมรับความหลากหลาย มีจิตใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน จึงไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเรื่องการแบ่งชนชั้น หรือเผ่าพันธุ์ แต่การละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ยังปรากฏอย่างต่อเนื่อง เช่น การละเมิดสิทธิเด็ก เช่น การละเมิดทางเพศ แรงงาน ยาเสพติด อบายมุข ความรุนแรงในการลงโทษ การละเมิดสิทธิสตรี ในสังคมไทยยังปรากฏการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงในครองครัว ความรุนแรงทางเพศในที่สาธารณะ ที่บ้าน ที่ทำงาน สถานกักกัน การล่อลวงทางอินเตอร์เน็ต โรงภาพยนตร์ บนรถเมล์
2. การเข้ามามีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน บุคคลควรมีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนใน สังคมไทยต่อไปนี้
1. ศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่พัฒนาความรู้ ทักษะ ค่านิยมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
2. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของตนเอง บุคลิกภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเต็มที่
3. มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชาติบ้านเมืองอย่างมีอิสรเสรีภาพ
องค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย มีดังนี้
1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
2. ศาลต่าง ๆ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร
3. มูลนิธิเพื่อพัฒนาเด็ก
4. มูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจน ซี.ซี.เอฟ
5. มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
6. มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี
อ่านเพิ่มเติม
สิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
1. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) หมายถึง คุณสมบัติ จิตใจ สิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวนของมนุษย์ทุกคน และรักษาไว้มิให้บุคคลอื่นมาล่วงละเมิดได้ การถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครองและได้รับความยุติธรรมจากรัฐ
2. สาเหตุที่มนุษย์ต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เกิดจาก
1. มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วย่อมมีสิทธิในตัวเอง
2. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม
3. มนุษย์มีเกียรติภูมิที่เกิดมาเป็นมนุษย์
4. มนุษย์ทุกคนเกิดมามีฐานะไม่เท่าเทียมกัน
3. หลักการสำคัญที่สุดของสิทธิมนุษยชน คือ มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ และกำหนดให้รัฐบาล ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐดำเนินการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคน
4. การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
1. สังคมไทยเป็นสังคมที่ต่างเชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพันธุ์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ จนกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นไทยโดยไม่มีการแตกแยก ยอมรับความหลากหลาย มีจิตใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน จึงไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเรื่องการแบ่งชนชั้น หรือเผ่าพันธุ์ แต่การละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ยังปรากฏอย่างต่อเนื่อง เช่น การละเมิดสิทธิเด็ก เช่น การละเมิดทางเพศ แรงงาน ยาเสพติด อบายมุข ความรุนแรงในการลงโทษ การละเมิดสิทธิสตรี ในสังคมไทยยังปรากฏการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงในครองครัว ความรุนแรงทางเพศในที่สาธารณะ ที่บ้าน ที่ทำงาน สถานกักกัน การล่อลวงทางอินเตอร์เน็ต โรงภาพยนตร์ บนรถเมล์
2. การเข้ามามีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน บุคคลควรมีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนใน สังคมไทยต่อไปนี้
1. ศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่พัฒนาความรู้ ทักษะ ค่านิยมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
2. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของตนเอง บุคลิกภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเต็มที่
3. มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชาติบ้านเมืองอย่างมีอิสรเสรีภาพ
องค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย มีดังนี้
1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
2. ศาลต่าง ๆ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร
3. มูลนิธิเพื่อพัฒนาเด็ก
4. มูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจน ซี.ซี.เอฟ
5. มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
6. มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี
อ่านเพิ่มเติม
หน่วยการเรียนรู้ที่6 กฏหมาย
บทที่ 3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวเองครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ และสังคม
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติและสังคมโลก
สาระการเรียนรู้
1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย
2. กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว
3. กำหมายแพ่งที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา
4. กฎหมายอาญา
5. โมฆกรรมและโมฆียกรรม
6. กฎหมายอื่นที่สำคัญ
7. ข้อตกลงระหว่างประเทศ
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย
1. ความหมายของกฎหมาย
กฎหมาย คือ กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม
2. ความสำคัญของกฎหมาย
2.1 เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยในสังคม กิจกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศ จะมีทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
2.2 เพื่อควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในสังคมให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม
2.3 เพื่อปกป้องและรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
3. ลักษณะของกฎหมาย
3.1 เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับเพื่อให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติที่มีผลบังคับครอบคุมอย่างกว้างขว้างภายในอาณาเขตของรัฐแห่งหนึ่งๆ
3.2 เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ตราขึ้นโดยรัฐ
3.3 ต้องมีสภาพบังคับกฎหมายเมื่อตราออกมาหรือประกาศใช้แล้ว
3.4 มีผลใช้บังคับตลอดไป
3.5 มีความเสมอภาคและยุติธรรม
4. ประเภทของกฎหมาย อ่านเพิ่มเติม
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติและสังคมโลก
สาระการเรียนรู้
1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย
2. กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว
3. กำหมายแพ่งที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา
4. กฎหมายอาญา
5. โมฆกรรมและโมฆียกรรม
6. กฎหมายอื่นที่สำคัญ
7. ข้อตกลงระหว่างประเทศ
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย
1. ความหมายของกฎหมาย
กฎหมาย คือ กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม
2. ความสำคัญของกฎหมาย
2.1 เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยในสังคม กิจกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศ จะมีทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
2.2 เพื่อควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในสังคมให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม
2.3 เพื่อปกป้องและรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
3. ลักษณะของกฎหมาย
3.1 เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับเพื่อให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติที่มีผลบังคับครอบคุมอย่างกว้างขว้างภายในอาณาเขตของรัฐแห่งหนึ่งๆ
3.2 เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ตราขึ้นโดยรัฐ
3.3 ต้องมีสภาพบังคับกฎหมายเมื่อตราออกมาหรือประกาศใช้แล้ว
3.4 มีผลใช้บังคับตลอดไป
3.5 มีความเสมอภาคและยุติธรรม
4. ประเภทของกฎหมาย อ่านเพิ่มเติม
สถานะของพระมหากษัตริย์
พระราชสถานะทางสังคม
สังคมไทยยกย่องเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันคู่บ้านคู่เมือง เป็นสัญลักษณ์ของชาติ ทรงได้รับการเชิดชูจากสังคมไทย ดังนี้
1. ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงทำให้เกิดความสำนึกในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้ทุกสถาบันมีจุดรวมจากแหล่งเดียวกัน แม้จะมีความแตกต่างกันในด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา ก็มีความสมานสามัคคีกลมเกลียวกันในหมู่ชนเหล่านั้น ทรงรักใคร่ห่วงใยประชาชน ทรงมีเมตตาต่อประชาชนทุกหมู่เหล่า พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นถิ่นทุรกันดารหรือมีอันตรายเพียงใด เพื่อทรงทราบถึงทุกข์สุขของประชาชน ประชาชนก็มีความผูกกันกับพระมหากษัตริย์อย่างลึกซึ้ง แน่นแฟ้น มั่นคง จนยากที่จะทำให้สั่นคลอนหรือแตกแยกได้
2. ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งความต่อเนื่องของชาติ พระมหากษัตรีย์ทรงเป็นประมุขของชาติไทยสืบต่อกันมาโดยไม่ขาดสายตั้งแต่ อาณาจักรไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่ารัฐบาลจะเปลี่ยนไปกี่ยุคสมัยก็ตาม ทำให้ระบบการเมืองและชาติไทยมีความสมานฉันท์และต่อเนื่องตลอดเวลา
3. ทรงเป็นพลังในการสร้างขวัญและกำลังใจของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาของแหล่งเกียรติยศทั้งปวง ก่อให้เกิดความภาคภูมิ ปิติยินดี และเกิดกำลังใจในหมู่ประชาชนทั่วไปที่จะรักษาคุณงามความดีและพยายามกระทำความดี เพื่อให้พระมหากษัตริย์สบายพระทัย
4. ทรงมีส่วนสำคัญในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงขึ้นครองราชย์ด้วยความเห็นชอบยอมรับของประชาชน และทรงใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชนในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและบ้านเมืองเป็นสำคัญ ซึ่งอาจต่างจาก
ประมุขของประเทศอื่นที่ขึ้นดำรงตำแหน่งโดยการเลือกตั้ง จึงต้องยึดนโยบายของกลุ่มหรือพรรคการเมืองที่ตนสังกัดเป็นหลัก
5. ทรงแก้ไขวิกฤตการณ์ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นกลไกสำคัญในการยับยั้งและแก้ไขวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงภายในประเทศได้ ในบางครั้งประเทศไทยเกิดการขัดแย้งกันเองตามระบอบประชาธิปไตย พระมหากษัตริย์ ก็สามารถยุติได้ด้วยพระบารมีของพระองค์ เช่น เหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยเมืองเดือนตุลาคม 2516 และเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 เป็นต้น
6. ทรงส่งเสริมความมั่นคงของประเทศ พระมหากษัตริย์เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ทั้งประชาชน รัฐบาล หน่วยราชการ กองทัพ นิสิต นักศึกษา ปัญญาชน หรือกลุ่มต่าง ๆ แม้กระทั่งชนกลุ่มน้อยในประเทศ เช่น ชาวไทยภูเขา ชาวไทยมุสลิม เป็นต้น ทำให้ทุกฝ่ายมีความมุ่งมั่นและมีความพรักพร้อมที่จะรักษาความมั่นคงและเอกราชของชาติไว้
7. ทรงมีส่วนเสริมสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตได้ทรงดำเนินวิเทโศบายได้อย่างดีจนสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ โดยเฉพาะสมัยการล่าเมืองขึ้นของชาติตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจในยุโรป สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ก็ทรงดำเนินการให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศต่าง ๆ กับประเทศไทย โดยเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยือนประเทศต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 31 ประเทศ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับต่างประเทศดำเนินไปได้อย่างสะดวกและราบรื่น
8. ทรงเป็นผู้นำในการพัฒนาและปฏิรูปด้านต่าง ๆ การพัฒนาและการปฏิรูปที่สำคัญ ๆ ของชาติส่วนใหญ่ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำ ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงปูพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยจัดตั้งกระทรวงต่าง ๆ ทรงส่งเสริมการศึกษาและเลิกทาส กระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบันได้ทรงเกื้อหนุนวิทยาการสาขาต่าง ๆ ทรงสนับสนุนการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม ทรงริเริ่มกิจการอันเป็นการแก้ปัญหาหลัก ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ผ่านโครงการ
พระราชดำริ ซึ่งมุ่งเน้นการแก้ปัญหาให้แก่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ได้แก่ ชาวนา ชาวไร่ และประชาชนผู้ด้อยโอกาส เช่น โครงการพัฒนาที่ดิน โครงการสหกรณ์ โครงการพัฒนาชาวเขา และการเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นต้น
9. ทรงมีส่วนเกื้อหนุนระบอบประชาธิปไตย สถาบันพระมหากษัตริย์มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยให้มีความเข้มแข็งและมั่นคง เพราะการที่ประชาชนเกิดความจงรักภักดีและเชื่อมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้ประชาชน
เกิดความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วย เนื่องจากเห็นว่าเป็นระบอบการปกครองที่เชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะของประชนนั่นเอง
สังคมไทยยกย่องเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันคู่บ้านคู่เมือง เป็นสัญลักษณ์ของชาติ ทรงได้รับการเชิดชูจากสังคมไทย ดังนี้
1. ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงทำให้เกิดความสำนึกในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้ทุกสถาบันมีจุดรวมจากแหล่งเดียวกัน แม้จะมีความแตกต่างกันในด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา ก็มีความสมานสามัคคีกลมเกลียวกันในหมู่ชนเหล่านั้น ทรงรักใคร่ห่วงใยประชาชน ทรงมีเมตตาต่อประชาชนทุกหมู่เหล่า พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นถิ่นทุรกันดารหรือมีอันตรายเพียงใด เพื่อทรงทราบถึงทุกข์สุขของประชาชน ประชาชนก็มีความผูกกันกับพระมหากษัตริย์อย่างลึกซึ้ง แน่นแฟ้น มั่นคง จนยากที่จะทำให้สั่นคลอนหรือแตกแยกได้
2. ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งความต่อเนื่องของชาติ พระมหากษัตรีย์ทรงเป็นประมุขของชาติไทยสืบต่อกันมาโดยไม่ขาดสายตั้งแต่ อาณาจักรไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่ารัฐบาลจะเปลี่ยนไปกี่ยุคสมัยก็ตาม ทำให้ระบบการเมืองและชาติไทยมีความสมานฉันท์และต่อเนื่องตลอดเวลา
3. ทรงเป็นพลังในการสร้างขวัญและกำลังใจของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาของแหล่งเกียรติยศทั้งปวง ก่อให้เกิดความภาคภูมิ ปิติยินดี และเกิดกำลังใจในหมู่ประชาชนทั่วไปที่จะรักษาคุณงามความดีและพยายามกระทำความดี เพื่อให้พระมหากษัตริย์สบายพระทัย
4. ทรงมีส่วนสำคัญในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงขึ้นครองราชย์ด้วยความเห็นชอบยอมรับของประชาชน และทรงใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชนในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและบ้านเมืองเป็นสำคัญ ซึ่งอาจต่างจาก
ประมุขของประเทศอื่นที่ขึ้นดำรงตำแหน่งโดยการเลือกตั้ง จึงต้องยึดนโยบายของกลุ่มหรือพรรคการเมืองที่ตนสังกัดเป็นหลัก
5. ทรงแก้ไขวิกฤตการณ์ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นกลไกสำคัญในการยับยั้งและแก้ไขวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงภายในประเทศได้ ในบางครั้งประเทศไทยเกิดการขัดแย้งกันเองตามระบอบประชาธิปไตย พระมหากษัตริย์ ก็สามารถยุติได้ด้วยพระบารมีของพระองค์ เช่น เหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยเมืองเดือนตุลาคม 2516 และเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 เป็นต้น
6. ทรงส่งเสริมความมั่นคงของประเทศ พระมหากษัตริย์เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ทั้งประชาชน รัฐบาล หน่วยราชการ กองทัพ นิสิต นักศึกษา ปัญญาชน หรือกลุ่มต่าง ๆ แม้กระทั่งชนกลุ่มน้อยในประเทศ เช่น ชาวไทยภูเขา ชาวไทยมุสลิม เป็นต้น ทำให้ทุกฝ่ายมีความมุ่งมั่นและมีความพรักพร้อมที่จะรักษาความมั่นคงและเอกราชของชาติไว้
7. ทรงมีส่วนเสริมสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตได้ทรงดำเนินวิเทโศบายได้อย่างดีจนสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ โดยเฉพาะสมัยการล่าเมืองขึ้นของชาติตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจในยุโรป สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ก็ทรงดำเนินการให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศต่าง ๆ กับประเทศไทย โดยเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยือนประเทศต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 31 ประเทศ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับต่างประเทศดำเนินไปได้อย่างสะดวกและราบรื่น
8. ทรงเป็นผู้นำในการพัฒนาและปฏิรูปด้านต่าง ๆ การพัฒนาและการปฏิรูปที่สำคัญ ๆ ของชาติส่วนใหญ่ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำ ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงปูพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยจัดตั้งกระทรวงต่าง ๆ ทรงส่งเสริมการศึกษาและเลิกทาส กระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบันได้ทรงเกื้อหนุนวิทยาการสาขาต่าง ๆ ทรงสนับสนุนการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม ทรงริเริ่มกิจการอันเป็นการแก้ปัญหาหลัก ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ผ่านโครงการ
พระราชดำริ ซึ่งมุ่งเน้นการแก้ปัญหาให้แก่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ได้แก่ ชาวนา ชาวไร่ และประชาชนผู้ด้อยโอกาส เช่น โครงการพัฒนาที่ดิน โครงการสหกรณ์ โครงการพัฒนาชาวเขา และการเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นต้น
9. ทรงมีส่วนเกื้อหนุนระบอบประชาธิปไตย สถาบันพระมหากษัตริย์มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยให้มีความเข้มแข็งและมั่นคง เพราะการที่ประชาชนเกิดความจงรักภักดีและเชื่อมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้ประชาชน
เกิดความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วย เนื่องจากเห็นว่าเป็นระบอบการปกครองที่เชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะของประชนนั่นเอง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (อังกฤษ: democratic form of government with the King as Head of State[1]) เป็นชื่อเรียกระบอบการปกครองในประเทศไทย ที่รวมเอาทั้งรูปแบบการปกครอง (form of government) ประเภทประชาธิปไตยโดยมีรัฐสภา (parliamentary democracy) กับรูปแบบรัฐ (form of state) ประเภทการปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy[2]) ไว้ในคำเดียวกัน
สำหรับที่มานั้น วลีที่ว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" เพิ่งจะมีขึ้นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492[3] โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ความว่า "ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" ทั้งนี้ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ ได้ให้ความเห็นไว้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวร่างขึ้นภายใต้อิทธิพลของพลังอนุรักษนิยม ซึ่งขณะนั้นมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทนทางการเมืองที่สำคัญ แต่การปรากฏขึ้นครั้งแรกนี้ ยังไม่ได้ยืนยันความเป็นชื่อเฉพาะของระบอบการปกครองแต่อย่างใด[4] หากแต่การปรากฏขึ้นซ้ำในภายหลัง คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 และ พ.ศ. 2519 เป็นสองฉบับแรกที่ยืนยันความชอบธรรมของ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"[4]สมศักดิ์ได้ให้ความเห็นไว้อีกว่า หน้าที่ (function) ของการยืนยันในสองฉบับมีความต่างกัน โดยฉบับ พ.ศ. 2511 เพื่อต่อต้านการเมืองและพรรคการเมืองสมัยใหม่ที่เพิ่งปรากฏตัวขึ้น และฉบับ พ.ศ. 2519 เพื่อต่อต้านฝ่ายซ้าย[4]
ภายในระบอบการปกครองเช่นนี้ของประเทศไทย แตกต่างไปจากธรรมเนียมการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ที่จะมีอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน และพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขแต่ในทางพิธีการ ทั้งนี้ เพราะพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย มีพระราชอำนาจทางการเมืองเกินกว่าที่เป็นในประเทศประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญประเทศอื่น เช่น ทรงสามารถแสดงพระราชดำรัสสด, บริหารงานสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์[5] และแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น องคมนตรี โดยไม่มีผู้สนองบรมราชโองการ [6]
สำหรับกรณีของประเทศอังกฤษซึ่งถือเป็นตัวอย่างของประเทศที่ยังคงมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น Penny Junor นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือของเธอว่า [7]
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว... มีพระมหากษัตริย์และพระราชินีปกครองแผ่นดิน. […] หนึ่งร้อยยี่สิบปีต่อมา, ภายหลังการเปลี่ยนแปลงหลายประการ (และช่วงเวลาสั้น ๆ ในศตวรรษที่สิบเจ็ด ซึ่งปราศจากกษัตริย์) พวกเรามีพระราชินีผู้ไร้ซึ่งอำนาจในการบริหาร, ผู้ซึ่งกระทำการต่าง ๆ โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี, ผู้ซึ่งอ่านพระราชดำรัสซึ่งผู้อื่นเป็นคนร่างขึ้น
สถาบันกษัตริย์จะต้องอยู่เหนือการเมือง เพราะองค์พระราชินีเป็นตัวแทนของชาติทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นสี, ความเชื่อ หรือการเมือง, ไม่ว่าจะด้วยสถานะ หรือสถานการณ์, หรือแม้กระทั่งยุคสมัยของพวกเขา - พระองค์เป็นศูนย์รวมของพลังภายในประเทศ เป็นเสมือนกาวประสานพวกเราเอาไว้ด้วยกัน และนั่นคือความเข้มแข็งของพระองค์. พระองค์เป็นของคนทุกคน, ด้วยไม่มีใครออกเสียงเพื่อพระองค์ และเสียงของพวกเขาจะไม่ถูกมอบให้กับใครอื่นอีก. หากว่าพระองค์ทรงแสดงความคิดเห็นซึ่งสามารถนำไปอ้างได้โดยพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง ย่อมสร้างความแบ่งฝักฝ่ายในหมู่เหล่าของประชากรโดยพลัน และนั่นย่อมก่อให้เกิดความแตกแยก และเมื่อพระองค์มิได้ทรงกระทำ - พระองค์ย่อมเป็นผู้ซึ่งไม่อาจหยั่งถึงได้อย่างถึงที่สุด
ทั้งนี้ หากกล่าวถึงการเป็นประมุขในทางพิธีการของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น ก็คือ เป็นพิธีการที่ทรงบริหารอำนาจอธิปไตยแทนปวงชนโดยแบ่งแยกอำนาจนั้นเป็นสามฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ อำนาจอธิปไตยนั้นผ่านมายังสภานิติบัญญัติที่เรียก "รัฐสภา" ฝ่ายบริหาร อำนาจอธิปไตยนั้นผ่านมายังกลุ่มผู้บริหารสูงสุดที่เรียก "คณะรัฐมนตรี" และฝ่ายตุลาการ อำนาจอธิปไตยนั้นผ่านมายังศาลทั้งหลาย ซึ่งมีสามประเภท คือ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ แต่ความจริงแล้ว องค์กรเหล่านั้นเป็นปวงชนหรือผู้แทนของปวงชนที่บริหารอำนาจด้วยตนเองเพื่อประโยชน์ของปวงชนและโดยการควบคุมของปวงชน ส่วนพระมหากษัตริย์เป็นแต่เชิดให้กิจการดำเนินไปด้วยดีตามพระราชภารกิจทางพิธีการที่รัฐธรรมนูญมอบให้เท่านั้น
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (อังกฤษ: democratic form of government with the King as Head of State[1]) เป็นชื่อเรียกระบอบการปกครองในประเทศไทย ที่รวมเอาทั้งรูปแบบการปกครอง (form of government) ประเภทประชาธิปไตยโดยมีรัฐสภา (parliamentary democracy) กับรูปแบบรัฐ (form of state) ประเภทการปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy[2]) ไว้ในคำเดียวกัน
สำหรับที่มานั้น วลีที่ว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" เพิ่งจะมีขึ้นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492[3] โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ความว่า "ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" ทั้งนี้ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ ได้ให้ความเห็นไว้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวร่างขึ้นภายใต้อิทธิพลของพลังอนุรักษนิยม ซึ่งขณะนั้นมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทนทางการเมืองที่สำคัญ แต่การปรากฏขึ้นครั้งแรกนี้ ยังไม่ได้ยืนยันความเป็นชื่อเฉพาะของระบอบการปกครองแต่อย่างใด[4] หากแต่การปรากฏขึ้นซ้ำในภายหลัง คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 และ พ.ศ. 2519 เป็นสองฉบับแรกที่ยืนยันความชอบธรรมของ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"[4]สมศักดิ์ได้ให้ความเห็นไว้อีกว่า หน้าที่ (function) ของการยืนยันในสองฉบับมีความต่างกัน โดยฉบับ พ.ศ. 2511 เพื่อต่อต้านการเมืองและพรรคการเมืองสมัยใหม่ที่เพิ่งปรากฏตัวขึ้น และฉบับ พ.ศ. 2519 เพื่อต่อต้านฝ่ายซ้าย[4]
ภายในระบอบการปกครองเช่นนี้ของประเทศไทย แตกต่างไปจากธรรมเนียมการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ที่จะมีอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน และพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขแต่ในทางพิธีการ ทั้งนี้ เพราะพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย มีพระราชอำนาจทางการเมืองเกินกว่าที่เป็นในประเทศประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญประเทศอื่น เช่น ทรงสามารถแสดงพระราชดำรัสสด, บริหารงานสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์[5] และแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น องคมนตรี โดยไม่มีผู้สนองบรมราชโองการ [6]
สำหรับกรณีของประเทศอังกฤษซึ่งถือเป็นตัวอย่างของประเทศที่ยังคงมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น Penny Junor นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือของเธอว่า [7]
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว... มีพระมหากษัตริย์และพระราชินีปกครองแผ่นดิน. […] หนึ่งร้อยยี่สิบปีต่อมา, ภายหลังการเปลี่ยนแปลงหลายประการ (และช่วงเวลาสั้น ๆ ในศตวรรษที่สิบเจ็ด ซึ่งปราศจากกษัตริย์) พวกเรามีพระราชินีผู้ไร้ซึ่งอำนาจในการบริหาร, ผู้ซึ่งกระทำการต่าง ๆ โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี, ผู้ซึ่งอ่านพระราชดำรัสซึ่งผู้อื่นเป็นคนร่างขึ้น
สถาบันกษัตริย์จะต้องอยู่เหนือการเมือง เพราะองค์พระราชินีเป็นตัวแทนของชาติทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นสี, ความเชื่อ หรือการเมือง, ไม่ว่าจะด้วยสถานะ หรือสถานการณ์, หรือแม้กระทั่งยุคสมัยของพวกเขา - พระองค์เป็นศูนย์รวมของพลังภายในประเทศ เป็นเสมือนกาวประสานพวกเราเอาไว้ด้วยกัน และนั่นคือความเข้มแข็งของพระองค์. พระองค์เป็นของคนทุกคน, ด้วยไม่มีใครออกเสียงเพื่อพระองค์ และเสียงของพวกเขาจะไม่ถูกมอบให้กับใครอื่นอีก. หากว่าพระองค์ทรงแสดงความคิดเห็นซึ่งสามารถนำไปอ้างได้โดยพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง ย่อมสร้างความแบ่งฝักฝ่ายในหมู่เหล่าของประชากรโดยพลัน และนั่นย่อมก่อให้เกิดความแตกแยก และเมื่อพระองค์มิได้ทรงกระทำ - พระองค์ย่อมเป็นผู้ซึ่งไม่อาจหยั่งถึงได้อย่างถึงที่สุด
ทั้งนี้ หากกล่าวถึงการเป็นประมุขในทางพิธีการของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น ก็คือ เป็นพิธีการที่ทรงบริหารอำนาจอธิปไตยแทนปวงชนโดยแบ่งแยกอำนาจนั้นเป็นสามฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ อำนาจอธิปไตยนั้นผ่านมายังสภานิติบัญญัติที่เรียก "รัฐสภา" ฝ่ายบริหาร อำนาจอธิปไตยนั้นผ่านมายังกลุ่มผู้บริหารสูงสุดที่เรียก "คณะรัฐมนตรี" และฝ่ายตุลาการ อำนาจอธิปไตยนั้นผ่านมายังศาลทั้งหลาย ซึ่งมีสามประเภท คือ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ แต่ความจริงแล้ว องค์กรเหล่านั้นเป็นปวงชนหรือผู้แทนของปวงชนที่บริหารอำนาจด้วยตนเองเพื่อประโยชน์ของปวงชนและโดยการควบคุมของปวงชน ส่วนพระมหากษัตริย์เป็นแต่เชิดให้กิจการดำเนินไปด้วยดีตามพระราชภารกิจทางพิธีการที่รัฐธรรมนูญมอบให้เท่านั้น
การเลือกรับวัฒนธรรมสากล
วิธีการเลือกรับวัฒนธรรมสากลของไทย มีดังนี้
1.เลือกรับวัฒนธรรมที่เป็นประโยชน์ ช่วงที่มีการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก เพื่อมิให้ตนเองตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก ไทยจึงรับวัฒนธรรมจากชาติตะวันตก ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส หลายประการ เช่น การฝึกทหารแบบตะวันตก ระบบกฎหมายและการศาล ระบบการเงินการคลัง การชลประทาน การสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศในเวลาต่อมา
2.เลือกรับโดยการผสมผสานของวัฒนธรรม โดยการนำวัฒนธรรมของต่างชาติมาปรับใช้ผสมผสานกับวัฒนธรรมไทยให้เกิดความสมดุล เหมาะกับวิถีชีวิตของคนไทย ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ของอินเดีย ที่มีอิทธิพลในกานดำเนินชีวิตของประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย โดยผสมผสานไปกับพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์อย่างแยกกันไม่ออก จนกลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีไทย เช่น ประเพณีการเกิด การขึ้นบ้านใหม่ การแต่งงาน การตาย เป็นต้น การรับวัฒนธรรม ความเชื่อทางศาสนาของจีน ซึ่งเป็นการผสมผสานความเชื่อระหว่างศาสนาพุทธ การบูชาบรรพบุรุษ การนับถือเจ้า นอกจากนี้ยังมีเทศกาลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อชาวไทยเชื้อสายจีน เช่น เทศกาลไหว้บรรพบุรุษ ไหว้พระจันทร์ เทศกาลกินเจ เป็นต้น
ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล
ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล
เมื่อสังคมแต่ละสังคมได้สร้างวัฒนธรรมของตนเองขึ้นมาและมีเอกลักษณ์เฉพาะ ที่ตั้งอยู่บนสภาวะแวดล้อมทางกายภาพและสังคม หรือบริบทของสังคมนั้นๆ แต่วัฒนธรรมของสังคมทุกสังคมมีความคล้อยคลึงกัน มีวัฒนธรรมพื้นฐานที่เหมือนกัน นักมานุษยวิทยาและนักสังคมวิทยา เรียกกันว่า “วัฒนธรรมสากล (global culture)” แม้จะมีวัฒนธรรมพื้นฐานที่เหมือนกัน แต่วัฒนธรรมแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน ดังตัวอย่างเช่น ทุกสังคมจะมีภาษา แต่ภาษาของแต่ละสังคมจะแตกต่างกัน บางสังคมใช้ภาษาไทย บางสังคมใช้ภาษาอังกฤษ และบางสังคมใช้ภาษาอาหรับ เป็นตน
อีกนัยหนี่งกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมสากล ก็คือการแพร่กระจายของวัฒนธรรมที่มีอิพลเหนือกว่าไปสู้วัฒนธรรมที่อ่อนแอกว่า ทำให้เกิดการยอมรับและนำไปปฏิบัติตามในสังคมอื่นทั่วทุกภูมิภาคของโลก จนในที่สุดมีการเรียกวัฒนธรรมสั้นว่าเป็นวัฒนธรรมสากล เช่น ภาษาอังกฤษเครื่องมีเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ ยาแผนปัจจุบัน สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เป็นต้น
โดยวัฒนธรรมสากลมีความแตกต่างจากวัฒนธรรมไทยอยู่หลายประการด้วยกัน ดังนี้
1) เน้นปรัชญาว่า “มนุษย์เป็นนายธรรมชาติ” สามารถบังคบธรรมชาติให้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ทั้งหมด เช่น การเดินทางด้วยสองเท้าใช้เวลานานก็เลยประดิษฐ์รถยนต์ เครื่องบิน ขึ้นมาเป็นพาหนะที่ใช้ในการเดินทางแทน เป็นต้น แต่สำหรับวัฒนธรรมไทยนั้นเน้นปรัชญาว่า “มนุษย์ควรอยู่แบบผสมกลมกลืนกับธรรมชาติ” ดังนั้นคนไทยจึงนิยมสร้างวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติ
2) เน้นทวิโลกทัศน์ ชาวตะวันตกแบ่งทุกสิ่งออกเป็น 2 ส่วนเสมอ เช่น ขาว-ดำ ดี-เลว ทันสมัย-ล้าสมัย จึงมีการแก้ไขความพยายามที่ปรับเปลี่ยนสิ่งล้าสมัยให้มีความทันสมัย เน้นให้สิ่งดีงามเหนือความเลว
ในขณะที่วัฒนธรรมไทยเน้นการมองโลกเป็นองค์รวม ไม่แยก ขาว-ดำ ดี-เลว แต่มองว่าโลกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีองค์ประกอบทั่งหลายที่ช่วยส่งเสริมจรรโลงโลกให้มีความสมดุล น่าอยู่รื่นรมย์ และสงบสุข
3)เน้นวิธีการทางวิทยาศาตร์ ที่ตั้งอยู่บนเหตุผลของปัจจัยที่สามารถสัมผัสได้ โดยมีการตั้งสมมติฐาน พิสูจน์ปัจจัยต่างๆ ว่าเป็นตามสมมติฐานหรือไม่ วิเคราะห์ สังเคราะห์ให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำไปสร้างทฤษฎีและนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ดังนั้น ชาติตะวันตกจึงสามารถสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย สอดคล้องกับเทคโนโลยีชั้นสูง แต่สำหรับวัฒนธรรมไทยแม้นว่าจะอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาตร์เช่นกัน แต่มักเน้นการนำปัจจัยทีสัมผัสได้มาศึกษาร่วมกับปัจจัยทางจิตใจและตามความคิดเชื่อของหลักธรรมทางศาสนาควบคู่ไปด้วย เพราะวัฒนธรรมไทยสท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่โยงใยกัน 3 ด้าย คือ
1. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับโลก สิ่งแวดล้อม พืช และ สัตว์
2. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ หรือระหว่างตัวเรากับคนอื่นๆที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคม
3. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งศักสิทธิ์และอำนาจนอกเหนือธรรมชาติ ทำให้วัฒนธรรมไทยมีขอบเขตที่กว้างขว้าง ครอบคลุมความสัมพันธ์ทุกประเภทของกรดำเนินชีวิตของคนในสังคม ทั้งทีเป็นรูปธรรมและนามธรรม
6. แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่ดีงาม
สังคมและวัฒนธรรมไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและเกี่ยวพันกับปัจจัยภายในและภายนอกที่เข้ามากระทบ ดังนั้นวัฒนธรรมอาจเหมาะสมกับสภาพสังคมในยุคหนึ่ง แต่อาจไม่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของคนในสังคมในอีกยุคหนึ่งก็ได้
แต่ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงไม่ได้หมายถึงการละทิ้งวัฒนธรรมของตนไปอย่างชิ้นเชิง และหันไปรับวัฒนธรรมของสังคมอื่นมาใช้ทั้งหมด เพราะรากเหง้าของวัฒนธรรมไทยได้สร้างและสั่งสมมาให้สอดคล้องกับสังคมไทยมาช้านาน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลมาจากลักษณะบางอย่างไม่ตอบสนองความต้องการของสมาชิกในปัจจุบัน จึงได้นำสิ่งประดิษฐ์มาคิดค้นใหม่ หรือหยิบยืมวัฒนธรรมของต่างชาติมาใช้ทดแทนบ้าง แต่เราก็มีความจำเป็นที่จะต้องมีการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยเอาไว้ เพราะหารไม่มีการอนุรักษ์แล้ว วัฒนธรรมของสังคมอื่นๆก็จะเข้ามาครอบงำและจะต้องตกเป็นเมืองขึ้นทางวัฒนธรรมของสังคมอื่นไป
การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย เราอาจจะมองได้ 2 ระดับ ระดับที่หนึ่ง คือ การอนุรักษ์สงวนรักษาวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยให้คงอยู่ตลอดไป ส่วนระดับที่สอง คือ คนไทยจะต้องพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมของตนให้ทันสมัย สอดคล้องกับสภาพสังคมในยุคปัจจุบัน
วัฒนธรรมประจำชาติท้องถิ่น จัดเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูง ควรค่าแก่การอนุรักษ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนบธรรมเนียมประเพณี โบราณสถาน โบราณวัตถุ ภาษาวัตถุ ภาษา วรรณกรรม และภูมิปัญญา ซื่งได้ได้บรรลุและสั่งสมความรู้ ความหมาย และคุณค่าทางวัฒนธรรมที่มีมาแต่อดีตให้คนรุ่นต่อมาได้เรียนรู้ เพื่อรู้จักตนเองและมีความภูมิใจในความเป็นชาติไทย โดยส่วนรวมสิ่งเหล่านี้สูญหายไป หากขาดการเอาใจใส่ในการอนุรักษ์และส่งเสริมในทางที่ถูกที่ควร อ่านเพิ่มเติม
การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่อดีตของสังคมไทยที่ควรเปลี่ยนแปลง
1. การทำงาน คนไทยมักทำงานจับจด ชอบทำงานสบายที่ได้เงินดีโดยไม่ต้องเปลืองแรง มักโทษโชคชะตาที่ไม่เข้าข้างตน ไม่มีระเบียบวินัย สิ่งที่จะต้องสร้างให้เกิดขึ้น คือ
1.1 ความขยันและอดทน ทำงานหนัก และพึ่งตนเอง พื้นฐานของความสำเร็จของชีวิตและสังคมจะขึ้นอยู่กับความขยันและอดทนของแต่ละคนเป็นสำคัญ ในระบบการศึกษาของชาติที่พัฒนา เช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้สอนให้คนในชาติขยัน อดทน ทำงานหนักมาตั้งแต่เล็ก นักเรียนต้องศึกษาอย่างจริงจังต้องใช้เวลากับวิชาต่างๆอย่างมากพอ ต้องอดทนต่อการเรียนอย่างเต็มที่ ดังนั้นความสำเร็จในการศึกษาของนักเรียนของชาติที่พัฒนาจึงขึ้นอยู่กับความขยันการอดทนและการทำงานหนักของเด็ก และสิ่งนี้จะถูกปลูกฝังและสั่งสมไปจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เมื่อคนในชาติเหล่านี้มีคุณภาพสูงมาตั้งแต่ต้น พวกเขาก็จะกลายเป็นกลไลสำคัญที่ผลักดันให้ชาติของเขาเจริญก้าวหน้าและมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตลอดเวลา
1.2 การมีระเบียบวินัย ในสถาบันการศึกษาต้องสอนให้เด็กปฎิบัติตามระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ ไม่คุยกันหรือใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะอยู่ในห้องเรียน ซึ่งผลที่จะเกิดขึ้นคือเด็กจะคลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีระเบียนวินัย ทำตามกฎเกณฑ์และกติกาต่างๆของสังคมได้อย่างถูกต้อง
2.ความเป็นระบบและบูรณาการ สังคมไทยจะสอนให้คนมองแบบแยกส่วน ไม่เชื่อมต่อกัน ไม่นิยมการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม สิ่งที่ควรปรับเปลี่ยนคือ การมองสิ่งต่างๆให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เช่น ศิลปะ ดนตรี พลศีกษา การทำงานบ้าน การบำเพ็ญประโยชน์ การทำงานร่วมกับชาวบ้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ควรจะนำมาเชื่อมโยงและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ ที่เท่าเทียมกันกับวิชาในชั้นเรียนกล่าวคือ ในกระบวณการเรียนการสอน นักเรียนจะต้องถูกเข้มงวดในเรื่องวิชาการ แต่ในขณะเดียวกัน นักเรียนจะต้องเคร่งครัดในเรื่องในการทำกิจกรรมในโรงเรียน สอนให้รักธรรมชาติ สอนให้ช่วยพ่อ- แม่ทำงานบ้าน อบรมการเข้ากลุ่ม และการเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน
3.ระบบอุปถัมภ์ ความสัมพันธ์ในลักษณะของการอุปถัมภ์ค้ำจุนกันระหว่างบุคคลในสังคมไทยถือเป็นวัฒนธรรมที่หยั่งรากฝังลึกกันมานาน การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานมักแต่งตั้งจากผู้ที่อยู่ใกล้ชิด หรือคนที่โปรดปรานเป็นพิเศษ โดยไม่ได้คำนึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคลเป็นเกณฑ์ มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การพัฒนาประเทศไทยไม่ก้าวไปข้างหน้าเท่าที่ควร ดังนั้นจึงควรมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมระบบอุปถัมภ์ให้เป็นระบบคุณธรรม ดังเช่นที่มีการใช้กันอยู่ทั่วไปในประเทศพัฒนา ได้แก่ ยึดถือความรู้ความสามารถเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคล ปฎิบัติต่อบุคคลอย่างเสมอหน้ากันโดยใช้ระเบียบและมาตรฐานเดียวกัน เปิดโอกาสให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ยึดมั่นในเส้นทางที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
4.การฉ้อราษฎร์บังหลวง ในสังคมไทยการฉ้อราษฎร์บังหลวงเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ทราบกันโดยทั่วไป เช่น การจ่ายสินบนเพื่อให้ได้การผูกขาดกิจกรรมบางประเภท การยักยอกเงินค่าธรรมเนียมโดยไม่นำเงินส่งหน่วยงาน การรับเงินค่านายหน้า เมื่อมีการจัดซื้อของให้หน่วยงาน การสมยอมกันในการจัดซื้อการจ้างหรือให้สิทธิในการดำเนินการเพื่อจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะ อันทำให้มิได้มีการแข่งขันกันเสนอประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานของรัฐ และประเทศชาติอย่างแท้จริง ฯลฯ
การฉ้อราษฎร์บังหลวงไม่เคยสร้างคุณค่าหรือประโยชน์ให้แก่สังคม แต่กลับทำลายศีลธรรมและจริยธรรมของชุมชน ทำให้การจัดสรรและการใช้งบประมาณขาดประสิทธิภาพ ทรัพยากรซึ่งควรจะนำไปใช้สามารถบริการสาธารณสุขที่ดี บริการการศึกษาที่ดี บริการสาธารณูปโภคที่ดี ฯลฯ กลับต้องไปตกอยู่มือของบุคคลจำนวนน้อย ซึ่งจะหมายถึงการสูญเสียโอกาสที่ดี สำหรับการพัฒาประเทศ ดังนั้นสิ่งที่ควรสร้างขึ้นคือ การสร้างและปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้เกิดขึ้นแก่คนไทยตั้งแต่เด็กรณรงค์ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงภัยของ การฉ้อราษฎร์บังหลวง สร้างช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการแจ้งเบาะแสและร้องเรียนเกี่ยวกับ การฉ้อราษฎร์บังหลวง และมีมาตรการตรวจสอบและลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเข้มงวด แม้ว่าจะเป็นนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงก็ตาม
แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ได้ให้ความสำคัญในประเด็นของการอนุรักษ์วัฒนธรรมไว้เช่นเดียวกันคือ
1. บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
2. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รับราชการทหาร เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปะวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
3. รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปะวิทยาการต่างๆ เร่งรัดพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาวิชาชีพครู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ และวัฒนธรรมของชาติ
4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีสิทธิที่จะจัดการศึกษาอบรม และการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่นนั้นและเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอบรมของรัฐ ซึ่งการตัดการศึกษาอบรมภายในท้องถิ่นนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องคำนึงถึงการบำรุงรักษาศิลปะ จารีต ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นด้วย
ดังนั้นการรักษาและส่งเสริมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยก็คือ
1. ส่งเสริมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยให้ดำรงคงอยู่อย่างยั่งยืนและมีพัฒนาการที่ดี
2. ศึกษา ค้นคว้า และวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต การพัฒนาประเทศทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการป้องกันประเทศ
3. สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรม ที่มีต่อเอกลักษณ์ ศักดิ์ศรี ความสามัคคีและความมั่นคงของชาติ
4. ปฏิบัติตนตามกรอบที่ดีงามของวัฒนธรรมไทย ทั้งต่อคนไทยด้วยกัน และต่อชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะการแสดงต่อชาวต่างชาติจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก เพราะนอกจากจะทำให้ชาวต่างชาติได้เห็นและเข้าใจวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยแล้ว ยังเป็นการประกาศศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิแห่งชาติที่มีอารยธรรมสูงชาติหนึ่งของโลกด้วย
5. เผยแพร่วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยของทุกท้องถิ่นไปให้ประชาชนไทยทั้งประเทศได้รับรู้กันอย่าง กว้างขวาง ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนเข้าใจ เห็นคุณค่าและยอมรับวัฒนธรรมของท้องถิ่นซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่ความรักและหวงแหนในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของกลุ่มชนทุกหมู่เหล่าภายในชาติ
6. สนับสนุนส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยกับต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างชาติ
7. วางมาตรการให้หน่วยงานของรัฐและของเอกชน ที่ดำเนินงานด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ได้ประสานงานกันอย่างใกล้ชิด โดยการระดมสรรพกำลังทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อรักษาและส่งเสริมวัฒนธรรมให้มั่นคงเป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิตของประชาชน ตลอดจนร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม เพื่อให้วัฒนธรรมมีบทบาทสนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง อ่านเพิ่มเติม
วัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลหลักจากวัฒนธรรมอินเดีย จีน ขอม ตลอดจนวิญญาณนิยม ศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู
วัฒนธรรมแห่งชาติของไทยเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งสิ่งที่ปัจจุบันถือเป็นวัฒนธรรมไทยเดิมไม่มีอยู่ในรูปแบบนั้นเมื่อกว่าร้อยปีก่อน บ่อเกิดสามารถสืบย้อนไปได้ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงพิบูลสงครามสนับสนุนการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยกลางเป็นวัฒนธรรมแห่งชาตินิยามและยับยั้งมิให้ชนกลุ่มน้อยแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมของตน วัฒนธรรมพลเมืองรุ่นปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่ยึดรุ่นอุดมคติของวัฒนธรรมไทยกลางเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งรวมลักษณะชาตินิยมสมัยรัชกาลที่ 5 ราชย์กัมพูชา และลัทธิอิงสามัญชนที่นิยมบุคคลลักษณะ หรือสรุปคือ วัฒนธรรมพลเมืองของไทยปัจจุบันนิยามว่าประเทศไทยเป็นดินแดนของคนไทยกลาง มีศาสนาเดียวคือ พุทธนิกายเถรวาท และปกครองโดยราชวงศ์จักรี[1]
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเน้นว่า คนส่วนใหญ่ไม่สามารถตรัสรู้และไปถึงนิพพาน และดีที่สุดที่ทำได้คือ การสะสมบุญผ่านการปฏิบัติที่เป็นพิธีกรรมอย่างสูง เช่น การถวายอาหารพระสงฆ์และการบริจาคเงินเข้าวัด คำสอนทางศาสนาถูกเลือกให้สนับสนุนมุมมองทางโลกแบบศาสนาขงจื๊อใหม่ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่สามเสาหลัก ศาสนาพุทธของไทยยังรวมการบูชาวิญญาณของกัมพูชาและความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ นอกจากนี้ยังเน้นรูปแบบมากกว่าแก่นสาร[1]
คนไทยเน้นและให้คุณค่ารูปแบบมารยาทภายนอกอย่างยิ่งเพื่อรักษาความสัมพันธ์ประสานกัน กฎมารยาทหลายอย่างเป็นผลพลอยได้ของศาสนาพุทธ สังคมไทยเป็นสังคมไม่เผชิญหน้าที่เลี่ยงการวิจารณ์ในที่สาธารณะ การเสียหน้าเป็นความเสื่อมเสียแก่คนไทย จึงเลี่ยงการเผชิญหน้าและมุ่งประนีประนอมในสถานการณ์ลำบาก หากสองฝ่ายไม่เห็นด้วยกัน การไหว้เป็นแบบการทักทายและแสดงความเคารพของผู้น้อยต่อผู้ใหญ่ตามประเพณีและมีแบบพิธีเข้มงวด คนไทยใช้ชื่อต้นมิใช่นามสกุล และใช้คำว่า "คุณ" ก่อนชื่อ[2]
คนไทยเคารพความสัมพันธ์แบบมีลำดับชั้น ความสัมพันธ์ทางสังคมนิยามว่า บุคคลหนึ่งสูงกว่าอีกคนหนึ่ง บิดามารดาสูงกว่าบุตรธิดา ครูอาจารย์สูงกว่านักเรียนนักศึกษา และเจ้านายสูงกว่าผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อคนไทยพบคนแปลกหน้า จะพยายามจัดให้อยู่ในลำดับชั้นทันทีเพื่อให้ทราบว่าควรปฏิบัติด้วยอย่างไร มักโดยการถามสิ่งที่วัฒนธรรมอื่นมองว่าเป็นคำถามส่วนตัวอย่างยิ่ง สถานภาพกำหนดได้โดยเสื้อผ้า ลักษณะปรากฏทั่วไป อายุ อาชีพ การศึกษา นามสกุลและความเชื่อมโยงทางสังคม อ่านเพิ่มเติม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วัฒนธรรม
วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม
วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม
วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอด อ่านเพิ่มเติม
วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม
วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอด อ่านเพิ่มเติม
แนวทางการแก้ไชปัญหาและพัฒนาสังคม
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1. พัฒนาเศรษฐกิจ เช่น กระจายรายได้ การสร้างงานในชนบท ขยายการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
2. พัฒนาสังคม เช่น ขยายการศึกษาเพิ่มมากขึ้น บริการฝึกอาชีพให้กับประชาชน
3. พัฒนาคุณภาพของประชากร
2. ปัญหาอาชญากรรม มีสาเหตุเกิดจาก
1. การขาดความอบอุ่นทางจิตใจ
2. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากขึ้น
3. สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม
4. มีค่านิยมในทางที่ผิด
การแก้ไขปัญหา
1. รัฐและหน่วยงานรับผิดชอบควรช่วยกันแก้ไขปัญหา
2. ปลูกฝังและพัฒนาจิตใจของสมาชิกในสังคมให้มีคุณธรรม
3. อบรมสั่งสอนและให้ความรัก ความอบอุ่น และรวมถึงให้ความร่วมมือกับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่
3. ปัญหายาเสพย์ติด
มีสาเหตุเกิดจาก
1. ถูกชักชวนให้ทดลอง
2. ประกอบอาชีพบางอย่างที่ต้องการเพิ่มงานมากขึ้น
3. ความอยากรู้และอยากทดลอง
4. สภาวะแวดล้อมไม่ดี
การแก้ไขปัญหา
1. ให้ความรู้เรื่องโทษของยาเสพย์ติด
2. ป้องกันและปราบปรามผู้ซื้อและผู้ขายอย่างเด็ดขาด
3. การร่วมมือสอดส่องดูแลความประพฤติของเด็กอย่างใกล้ชิด
4. จัดให้มีการบำบัดและรักษาผู้ติดยาเสพย์ติด
4. ปัญหาโรคเอดส์
สาเหตุเกิดจาก
1. ปัญหายาเสพย์ติด
2. ขาดความรู้ในการป้องกันโรค
3. เกิดจากความยากจนและไม่เพียงพอ
การแก้ไขปัญหา
1. ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการโรคเอดส์ให้กับประชาชน
2. ไม่เสพย์สิ่งเสพย์ติด โดยเฉพาะการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
3. ระมัดระวังการติดเชื้อโดยทางสายเลือด
5. ปัญหาสิ่งแวดล้อม
เช่น อากาศเป็นพิษ น้ำเน่าเสีย เสียงเป็นพิษ ขยะมูลฝอย เป็นต้น มีสาเหตุเกิดจาก
1. การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว
2. เกิดจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม
4. ขาดความรับผิดชอบ และระเบียบวินัยของสมาชิกในสังคม
การแก้ไขปัญหา
1. ให้การศึกษาและคำแนะนำต่าง ๆ แก่สมาชิกในสังคม
2. วางนโยบายการป้องกันการทำลายสิ่งแวดล้อม
3. ลงโทษผู้ฝ่าฝืนและกระทำผิดอย่างจริงจัง
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมไทย
1. พัฒนาเศรษฐกิจ เช่น กระจายรายได้ การสร้างงานในชนบท ขยายการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
2. พัฒนาสังคม เช่น ขยายการศึกษาเพิ่มมากขึ้น บริการฝึกอาชีพให้กับประชาชน
3. พัฒนาคุณภาพของประชากร
2. ปัญหาอาชญากรรม มีสาเหตุเกิดจาก
1. การขาดความอบอุ่นทางจิตใจ
2. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากขึ้น
3. สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม
4. มีค่านิยมในทางที่ผิด
การแก้ไขปัญหา
1. รัฐและหน่วยงานรับผิดชอบควรช่วยกันแก้ไขปัญหา
2. ปลูกฝังและพัฒนาจิตใจของสมาชิกในสังคมให้มีคุณธรรม
3. อบรมสั่งสอนและให้ความรัก ความอบอุ่น และรวมถึงให้ความร่วมมือกับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่
3. ปัญหายาเสพย์ติด
มีสาเหตุเกิดจาก
1. ถูกชักชวนให้ทดลอง
2. ประกอบอาชีพบางอย่างที่ต้องการเพิ่มงานมากขึ้น
3. ความอยากรู้และอยากทดลอง
4. สภาวะแวดล้อมไม่ดี
การแก้ไขปัญหา
1. ให้ความรู้เรื่องโทษของยาเสพย์ติด
2. ป้องกันและปราบปรามผู้ซื้อและผู้ขายอย่างเด็ดขาด
3. การร่วมมือสอดส่องดูแลความประพฤติของเด็กอย่างใกล้ชิด
4. จัดให้มีการบำบัดและรักษาผู้ติดยาเสพย์ติด
4. ปัญหาโรคเอดส์
สาเหตุเกิดจาก
1. ปัญหายาเสพย์ติด
2. ขาดความรู้ในการป้องกันโรค
3. เกิดจากความยากจนและไม่เพียงพอ
การแก้ไขปัญหา
1. ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการโรคเอดส์ให้กับประชาชน
2. ไม่เสพย์สิ่งเสพย์ติด โดยเฉพาะการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
3. ระมัดระวังการติดเชื้อโดยทางสายเลือด
5. ปัญหาสิ่งแวดล้อม
เช่น อากาศเป็นพิษ น้ำเน่าเสีย เสียงเป็นพิษ ขยะมูลฝอย เป็นต้น มีสาเหตุเกิดจาก
1. การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว
2. เกิดจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม
4. ขาดความรับผิดชอบ และระเบียบวินัยของสมาชิกในสังคม
การแก้ไขปัญหา
1. ให้การศึกษาและคำแนะนำต่าง ๆ แก่สมาชิกในสังคม
2. วางนโยบายการป้องกันการทำลายสิ่งแวดล้อม
3. ลงโทษผู้ฝ่าฝืนและกระทำผิดอย่างจริงจัง
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมไทย
- รัฐบาลควรออกระเบียบ กฎเกณฑ์ และกฎหมาย เพื่อ กำหนดมาตรการการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดอย่างจริงจังและแน่นอน
- วางแผนและนโยบายการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อรณรงค์และอนุรักษ์
- ให้การศึกษาแก่สมาชิกในสังคมเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในปัญหาต่าง ๆ ให้มากขึ้น
- ปรับปรุงและพัฒนาสังคมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- พัฒนาเศรษฐกิจทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการให้ดีขึ้น
- พัฒนาสังคม สร้างค่านิยม และรณรงค์ให้ประชาชนร่วมมือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ปัญหาสังคมไทย
ปัญหาสังคมไทย
ปัญหาสังคม หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมากในสังคมและเห็นว่าควรร่วม กันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น
สาเหตุของปัญหาสังคม
1. ปัญหาความยากจน มีสาเหตุเกิดจาก
1. การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร
2. การขาดการศึกษา ทำให้มีรายได้ต่ำ
3. ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
4. ลักษณะอาชีพมีรายได้ไม่แน่นอนสม่ำเสมอ เช่นกรรมกร รับจ้าง
5. มีบุตรมากเกินไป รายได้ไม่พอกับรายจ่าย
6. มีลักษณะนิสัยเฉื่อยชาและเกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน อ่านเพิ่มเติม
ปัญหาสังคม หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมากในสังคมและเห็นว่าควรร่วม กันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น
สาเหตุของปัญหาสังคม
- เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม การเป็นค่านิยมใหม่ ๆ ทำให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น
- เกิดจากสมาชิกในสังคมบางกลุ่มไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมวางไว้ เช่น เกิดความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหมาย เกิดความล้มเหลวของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม หรือสมาชิกบางกลุ่มที่สร้างความเดือดร้อนให้ แก่สังคม ทำให้เกิดการขาดระเบียบและเป็นปัญหาทางสังคมขึ้น
- เกิดจากการที่กลุ่มสังคมต่าง ๆ มีความคิดเห็นความต้องการและผลประโยชน์ขัดกันไม่ยอมร่วมมือแก้ไขปัญหา ของสังคม เช่น การเอาเปรียบลูกจ้าง เป็นต้น
1. ปัญหาความยากจน มีสาเหตุเกิดจาก
1. การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร
2. การขาดการศึกษา ทำให้มีรายได้ต่ำ
3. ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
4. ลักษณะอาชีพมีรายได้ไม่แน่นอนสม่ำเสมอ เช่นกรรมกร รับจ้าง
5. มีบุตรมากเกินไป รายได้ไม่พอกับรายจ่าย
6. มีลักษณะนิสัยเฉื่อยชาและเกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน อ่านเพิ่มเติม
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
สังคมมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลง บางสังคมเปลี่ยนแปลงช้าขณะที่บางสังคมเปลี่ยนเร็ว ในอดีตสังคมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนเกือบไม่มีอะไรเปลี่ยนอย่างสำคัญในรอบร้อยปี แต่ในระยะประมาณร้อยปีที่แล้วสังคมจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากสภาพสังคมแบบโบราณกลายเป็นสังคมสมัยใหม่ ที่เห็นชัดเจนคือการเปลี่ยนจากสังคมแบบเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม จากสังคมแบบชนบทมาเป็นสังคมเมือง เป็นต้น เนื้อหาต่อไปจะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในประเด็นต่างๆ อ่านเพิ่มเติิม
สังคมมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลง บางสังคมเปลี่ยนแปลงช้าขณะที่บางสังคมเปลี่ยนเร็ว ในอดีตสังคมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนเกือบไม่มีอะไรเปลี่ยนอย่างสำคัญในรอบร้อยปี แต่ในระยะประมาณร้อยปีที่แล้วสังคมจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากสภาพสังคมแบบโบราณกลายเป็นสังคมสมัยใหม่ ที่เห็นชัดเจนคือการเปลี่ยนจากสังคมแบบเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม จากสังคมแบบชนบทมาเป็นสังคมเมือง เป็นต้น เนื้อหาต่อไปจะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในประเด็นต่างๆ อ่านเพิ่มเติิม
ลักษณะสังคมไทย
ลักษณะสังคมไทย
.......1.เป็นสังคมที่มีโครงสร้างแบบหลวม ๆ คือ ผู้คนไม่เคร่งครัดต่อระเบียบ วินัย กฎเกณฑ์ ชอบความสะดวกสบาย สนุกสนาน การไม่เคร่งครัดต่อระเบียบวินัยเป็นผลให้เกิดความย่อหย่อนในการรักษา กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ และกติกาของสังคม
.......2. เป็นสังคมเกษตร ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75 ประกอบอาชีพทางเกษตร
.........3. เป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น ยึดถือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นสำคัญ เช่น ทรัพย์สมบัติ ความร่ำรวย ตำแหน่งหน้าที่การงาน อำนาจ ชื่อเสียง ฯลฯ
.........4. เป็นสังคมที่มีการอพยพเคลื่อนย้ายไปสู่ถิ่นอื่นสูง เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ ยากจน อัตราการเกิดของประชาชนเพิ่มมากขึ้น อัตราการตายลดลง ทำให้ชาวชนบทอพยพเข้าเมืองหรืออพยพไปชนบทอื่น ๆ สูง ส่วนใหญ่เป็นการอพยพย้ายถิ่นแบบชั่วคราว เช่น ชาวอีสานไปรับจ้างในเมือง หรือเดินทางไปขายแรงงานในต่างประเทศ ฯลฯ
.........5. เป็นสังคมเปิด สังคมไทยยอมรับวัฒนธรรมต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความคิด วิถีดำเนินชีวิตไปจากเดิมเป็นอันมาก การพัฒนาประเทศจะให้ความสำคัญการพัฒนาวัตถุมากกว่าการพัฒนา จิตใจ สภาพวิถีชีวิตของบุคคลโดยเฉพาะสังคมเมืองเปลี่ยนแปลงไปโดยรวดเร็ว
สังคมเมืองและสังคมชนบทของไทย
สังคมของเมืองไทย
..........สังคมเมืองมีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น มีการปกครองแบบเทศบาล บางแห่งมีการปกครองโดยเฉพาะ เช่น กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา สังคมเมืองมีความเจริญทางด้านวัตถุ เป็นศูนย์กลางความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข ฯลฯ
ลักษณะและโครงสร้างของสังคมเมืองไทย
.........1. พึ่งพาอาศัยกัน สังคมเมืองจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปด้วยกันเหมือนเครื่องจักร หากสิ่งใดหยุดชะงักสังคมเมืองจะประสบความยุ่งยากทันที
.........2. มีการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ สมาชิกของสังคมเมืองมีแบบแผน วิถีดำเนินชีวิตในแต่ละกลุ่มแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิด ความเชื่อ ศาสนา และประสบการณ์ เพราะสมาชิกมาจากแหล่งต่าง ๆ กัน
.........3. มีลักษณะความแตกต่างทางเศรษฐกิจสูง คือ สังคมเมืองมีทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง มีคนที่ประกอบอาชีพที่หลากหลาย เช่น พ่อค้า ข้าราชการ นักการเมือง นักธุรกิจ และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้มีระดับความแตกต่างของสมาชิกทางเศรษฐกิจสูง
.........4. การติดต่อสัมพันธ์กันมีลักษณะแบบทุติยภูมิ ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในสังคมเมืองมีมาก จึงมีการติดต่อกันตามสถานภาพ มากกว่าการติดต่อกันเป็นส่วนตัว หรือแบบปฐมภูมิ
..........5. การรวมกลุ่มเป็นองค์กรเป็นไปในรูปแบบทางการ คือเป็นการคำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเองหรือของ กลุ่มตนเองมากที่สุด
..........6. มีการแข่งขันกันสูง คือสังคมเมือง ผู้คนจะมีการแข่งขันกันสูง เป็นการแข่งขันเพื่อชัยชนะคู่แข่ง หรือเพื่อความอยู่รอดในสังคม คนในสังคมเมืองจึงเป็นโรคประสาทมากเมื่อเปรียบเทียบกับชาวชนบท
การขัดเกลาทางสังคม
การขัดเกลาทางสังคม (Socialization)
คำที่มักใช้ในความหมายเดียวกัน คือ สังคมกรณ์, สังคมประกิต, การอบรมเรียนรู้ทางสังคม, การทำให้เหมาะสมแก่สังคม
คำจำกัดความ เป็นกระบวนการทางสังคมกับทางจิตวิทยา ซึ่งมีผลทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพตามแนวทางที่สังคม
ต้องการ เด็กที่เกิดมาจะต้องได้รับการอบรมสั่งสอนให้เป็นสมาชิกที่สมบูรณ์ของสังคม สามารถอยู่
ร่วมและมีความสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างราบรื่น ทำ ให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงสภาพตามธรรมชาติเป็นมนุษย์ผู้มีวัฒนธรรม มีสภาพต่างจากสัตว์โลกชนิดอื่น
ต้องการ เด็กที่เกิดมาจะต้องได้รับการอบรมสั่งสอนให้เป็นสมาชิกที่สมบูรณ์ของสังคม สามารถอยู่
ร่วมและมีความสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างราบรื่น ทำ ให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงสภาพตามธรรมชาติเป็นมนุษย์ผู้มีวัฒนธรรม มีสภาพต่างจากสัตว์โลกชนิดอื่น
หลักสำคัญของกระบวนการสังคมประกิต
1. การปะทะสัมพันธ์ของมนุษย์ เพื่อการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมตามมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของสังคม
2. ความสามารถในการใช้ภาษา ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อ การถ่ายทอดวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี และเป็นสื่อในการเรียนรู้
3. การยอมรับด้วยความรักใคร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพ่อแม่เป็นสิ่งที่จำ เป็นมากที่จะทำ ให้เกิดการ
พัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก
1. การปะทะสัมพันธ์ของมนุษย์ เพื่อการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมตามมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของสังคม
2. ความสามารถในการใช้ภาษา ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อ การถ่ายทอดวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี และเป็นสื่อในการเรียนรู้
3. การยอมรับด้วยความรักใคร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพ่อแม่เป็นสิ่งที่จำ เป็นมากที่จะทำ ให้เกิดการ
พัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก
วิธีการขัดเกลาทางสังคม ทำ ได้ 2 ทาง คือ 1. การขัดเกลาทางสังคมโดยทางตรง คือ การสั่งสอนและฝึกอบรมโดยพ่อแม่ และครูอาจารย์ทำให้
เด็กปฏิบัติตนตามที่สังคมคาดหวัง
2. การขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อม เช่น การฟังอภิปราย ปาฐกถา การอ่านหนังสือตามห้องสมุด การฟังวิทยุ การดูโทรทัศน์ การดูภาพยนตร์ การเข้ากลุ่มเพื่อน ทำ ให้เกิดการปรับตัวและพัฒนาบุคลิกภาพ
พื้นฐานทางชีวภาพที่ทำ ให้เกิดการขัดเกลาทางสังคม 1. การปราศจากสัญชาตญาณของมนุษย์
2. การต้องพึ่งพาผู้อื่นยามเยาว์วัย
3. ความสามารถในการเรียนรู้
4. ภาษา
ความมุ่งหมายของการขัดเกลาทางสังคม 1. ปลูกฝังระเบียบวินัย
2. ปลูกฝังความมุ่งหวัง และแรงบันดาลใจ
3. สอนให้รู้จักบทบาทและทัศนคติต่างๆ
4. สอนให้เกิดความชำนาญหรือทักษะ
การอุบัติขึ้นมาแห่งตัวตน เมื่อไรก็ตามที่บุคคลยอมรับค่านิยมจากกลุ่มก็จะมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้นในตัวบุคคล
การยอมรับค่านิยมเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดขึ้นมาแห่งตัวตน ซึ่งจะมีพร้อมกับกระบวนการขัดเกลาทาง
สังคม
แนวคิดของ Mead อธิบายว่าตัวตนมี 2 ประการ คือ 1. ตัวตน I คือ ตัวตนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และกระฉับกระเฉง ตัวตนแบบนี้มักจะเกิดจาก
สังคมที่ให้อิสระภาพแก่บุคคลในการแสดงออกบ้าง ไม่เข้มงวดเกินไป ไม่ใช่ความต้องการของสังคม
2. ตัวตน Me คือ ตัวตนที่มีแต่ความเฉื่อย ไม่กระฉับกระเฉงว่องไว ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นตัว
ตนที่ชอบทำ ตามคำ สั่ง ตัวตนแบบนี้มักเกิดจากกลุ่มที่ใช้ระเบียบกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัดในการฝึกอบรม
แนวคิดของ Freud แบ่งตัวตนเป็น 3 อย่าง คือ Id, Ego, Super-ego 1. Id เป็นตัวตนที่เกิดขึ้นโดยสัญชาตญาณ และเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ ตัวตนแบบนี้เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่อยู่ในจิตไร้สำ นึก ทำ ให้คนรู้สึกโกรธ ยินดี หิว และความต้องการทางเพศ
2. Ego หรืออัตตา คือตัวตนที่เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ทำ ให้บุคคลรู้สึกรับรู้สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เป็นตัวประนีประนอมระหว่างความต้องการทางชีววิทยากับความต้องการทางสังคม
3. Super-ego เป็นส่วนที่กำ หนดอุดมคติของบุคคล ตัวตนแบบนี้มีความหมายเท่ากับตัวมโนธรรม
มักเกิดในสังคมที่มีการเน้นระเบียบวินัย
การขัดเกลาทางสังคมช่วยสร้างตัวตนขึ้นมา 3 อย่าง คือ 1. ภาพเกี่ยวกับตัวตน (Self-image) โดยอาศัยการปะทะสัมพันธ์กับคนอื่น และโดยอาศัยภาษา ทำ ให้บุคคลเกิดความคิดเกี่ยวกับตนเองว่าเป็น "ฉัน" ( I ) Cooley กล่าวว่า "พฤติกรรมของคนที่มีต่อบุคคลนั้นเป็นเหมือนกระจกเงาที่ช่วยให้มองเห็นตัวเองว่าเป็นใคร
2. ตัวตนในอุดมคติ(Ideal-self) สร้างขึ้นจากทัศนคติที่คนอื่นมีต่อตน คนอาจสร้างภาพของสิ่งที่ควรจะเป็น เพื่อแสวงหาความรักและการรับรอง
3. ตัวตนปฏิบัติการ (Ego) เป็นสิ่งที่เราได้ทำ ไปในแต่ละวัน โดยได้รับการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่เพื่อมุ่งหวังให้เด็กควบคุมและพึ่งตนเองได้ ซึ่งเป็นช่วงสำ หรับการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมและส่งเสริมการเป็นปึกแผ่นของตัวตน เช่น ความอดทน การมีระเบียบ การยอมรับผิด
วัยที่จำเป็นต่อการขัดเกลาทางสังคม คือ 1. เด็ก
2. วัยรุ่น
เด็กปฏิบัติตนตามที่สังคมคาดหวัง
2. การขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อม เช่น การฟังอภิปราย ปาฐกถา การอ่านหนังสือตามห้องสมุด การฟังวิทยุ การดูโทรทัศน์ การดูภาพยนตร์ การเข้ากลุ่มเพื่อน ทำ ให้เกิดการปรับตัวและพัฒนาบุคลิกภาพ
พื้นฐานทางชีวภาพที่ทำ ให้เกิดการขัดเกลาทางสังคม 1. การปราศจากสัญชาตญาณของมนุษย์
2. การต้องพึ่งพาผู้อื่นยามเยาว์วัย
3. ความสามารถในการเรียนรู้
4. ภาษา
ความมุ่งหมายของการขัดเกลาทางสังคม 1. ปลูกฝังระเบียบวินัย
2. ปลูกฝังความมุ่งหวัง และแรงบันดาลใจ
3. สอนให้รู้จักบทบาทและทัศนคติต่างๆ
4. สอนให้เกิดความชำนาญหรือทักษะ
การอุบัติขึ้นมาแห่งตัวตน เมื่อไรก็ตามที่บุคคลยอมรับค่านิยมจากกลุ่มก็จะมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้นในตัวบุคคล
การยอมรับค่านิยมเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดขึ้นมาแห่งตัวตน ซึ่งจะมีพร้อมกับกระบวนการขัดเกลาทาง
สังคม
แนวคิดของ Mead อธิบายว่าตัวตนมี 2 ประการ คือ 1. ตัวตน I คือ ตัวตนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และกระฉับกระเฉง ตัวตนแบบนี้มักจะเกิดจาก
สังคมที่ให้อิสระภาพแก่บุคคลในการแสดงออกบ้าง ไม่เข้มงวดเกินไป ไม่ใช่ความต้องการของสังคม
2. ตัวตน Me คือ ตัวตนที่มีแต่ความเฉื่อย ไม่กระฉับกระเฉงว่องไว ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นตัว
ตนที่ชอบทำ ตามคำ สั่ง ตัวตนแบบนี้มักเกิดจากกลุ่มที่ใช้ระเบียบกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัดในการฝึกอบรม
แนวคิดของ Freud แบ่งตัวตนเป็น 3 อย่าง คือ Id, Ego, Super-ego 1. Id เป็นตัวตนที่เกิดขึ้นโดยสัญชาตญาณ และเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ ตัวตนแบบนี้เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่อยู่ในจิตไร้สำ นึก ทำ ให้คนรู้สึกโกรธ ยินดี หิว และความต้องการทางเพศ
2. Ego หรืออัตตา คือตัวตนที่เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ทำ ให้บุคคลรู้สึกรับรู้สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เป็นตัวประนีประนอมระหว่างความต้องการทางชีววิทยากับความต้องการทางสังคม
3. Super-ego เป็นส่วนที่กำ หนดอุดมคติของบุคคล ตัวตนแบบนี้มีความหมายเท่ากับตัวมโนธรรม
มักเกิดในสังคมที่มีการเน้นระเบียบวินัย
การขัดเกลาทางสังคมช่วยสร้างตัวตนขึ้นมา 3 อย่าง คือ 1. ภาพเกี่ยวกับตัวตน (Self-image) โดยอาศัยการปะทะสัมพันธ์กับคนอื่น และโดยอาศัยภาษา ทำ ให้บุคคลเกิดความคิดเกี่ยวกับตนเองว่าเป็น "ฉัน" ( I ) Cooley กล่าวว่า "พฤติกรรมของคนที่มีต่อบุคคลนั้นเป็นเหมือนกระจกเงาที่ช่วยให้มองเห็นตัวเองว่าเป็นใคร
2. ตัวตนในอุดมคติ(Ideal-self) สร้างขึ้นจากทัศนคติที่คนอื่นมีต่อตน คนอาจสร้างภาพของสิ่งที่ควรจะเป็น เพื่อแสวงหาความรักและการรับรอง
3. ตัวตนปฏิบัติการ (Ego) เป็นสิ่งที่เราได้ทำ ไปในแต่ละวัน โดยได้รับการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่เพื่อมุ่งหวังให้เด็กควบคุมและพึ่งตนเองได้ ซึ่งเป็นช่วงสำ หรับการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมและส่งเสริมการเป็นปึกแผ่นของตัวตน เช่น ความอดทน การมีระเบียบ การยอมรับผิด
วัยที่จำเป็นต่อการขัดเกลาทางสังคม คือ 1. เด็ก
2. วัยรุ่น
องค์กรที่ทำหน้าที่ขัดเกลาทางสังคม 1. ครอบครัว
2. กลุ่มเพื่อน
3. สถานศึกษา
4. สำนักงานหรือองค์กรที่บุคคลสังกัดอยู่
5. สถาบันศาสนา
6. สื่อสารมวลชน
การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม
สังคมเป็นที่รวมของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เมื่อมีการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคลเพิ่มมากขึ้นสังคมก็ยิ่งมีความแตกต่างในหลายๆ ด้านเกิดขึ้นความแตกต่างดังกล่าว หากมีการควบคุมและจัดระเบียบของกลุ่มและในสังคมที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว สังคมก็อาจสับสนวุ่นวายขึ้นได้ ความหมายของการจัดระเบียบสังคม การจัดระเบียบสังคม เป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ โดยมีสมาชิกส่วนรวมของสังคมไทยยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกันและสืบทอดจนเป็นบรรทัดฐานในการดำรงชีวิตร่วมกันของสมาชิกในสังคม สาเหตุที่ต้องมีการจัดระเบียบสังคม1. สมาชิกในสังคมมีความแตกต่างกัน 2. แต่ละคนมุ่งแต่ผลประโยชน์ของตน จนเกิดความขัดแย้งได้ ความจำเป็นที่ต้องมีการจัดระเบียบสังคม1. เนื่องจากสมาชิกในสังคมมีความแตกต่าง ทั้งในทางกายภาพและในทางสังคม2. เนื่องจากสมาชิกในสังคมมีวัตถุประสงค์และมีความต้องการร่วมกันในสังคมมนุษย์ทุกๆ สังคมสมาชิกแต่ละคนย่อมมีความต้องการพื้นฐานร่วมกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกเพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และความต้องการนั้น3. เพื่อป้องการขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การต่อสู้ การใช้อำนาจ ดังนั้นจึงต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อให้ความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคมราบรื่น วิธีการจัดระเบียบทางสังคม1. บรรทัดฐาน2. สถานภาพ – บทบาท และการจัดชั้นยศ3. ค่านิยม4. การขัดเกลาทางสังคม5. การควบคุมทางสังคม องค์ประกอบของการจัดระเบียบ บรรทัดฐาน |
บรรทัดฐานทางสังคม หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือแบบแผนของพฤติกรรมที่สังคมยอมรับเป็นแนวทางให้สมาชิกประพฤติปฏิบัติในแต่ละสถานการณ์ สรุปได้ว่า...
1. บรรทัดฐานทางสังคม เป็นระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือแบบแผนของพฤติกรรมที่สมาชิกในสังคมยอมรับร่วมกัน และได้ประพฤติสืบต่อกันมา2. บรรทัดฐานทางสังคมเป็นระเบียบ กล่าวคือ แบบแผนความประพฤติที่เห็นว่าถูกต้องในสถานการณ์หนึ่งอาจนำไปใช้ในอีกสถานการณ์หนึ่งไม่ได้
|
ประเภทของบรรทัดฐานทางสังคม1. วิถีประชา/วิถีชาวบ้าน (Folkways) หมายถึง แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกปฏิบัติด้วยความเคยชิน เนื่องจากได้รับการปลูกฝังถ่ายทอดมาตั้งแต่วัยเด็กจนเติบใหญ่ แม้ว่าจะไม่มีการกำหนดโทษผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนอย่างเข้มงวด แต่อาจถูกคนอื่นเยาะเย้ย ถากถาง หรือได้รับการนินทา ทำให้สมาชิกต้องปฏิบัติตามวิถีชาวบ้าน จนเกิดความเป็นระเบียบทางสังคมในที่สุด2. จารีต (Mores) หมายถึง แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกปฏิบัติในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนจะได้รับการต่อต้านจากสมาชิกในสังคมอย่างจริงจัง เนื่องจากมีผลกระทบต่อระบบสัมพันธ์ของสมาชิกเป็นส่วนรวม3. กฎหมาย (Laws) หมายถึง กฎเกณฑ์ของความประพฤติซึ่งสร้างขึ้นโดยองค์การทางการเมืองการปกครอง และโดยได้รับการรับรองจากองค์กรของรัฐ
กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มีลักษณะสำคัญ ดังนี้1) เป็นกฎเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติของสมาชิกในสังคมที่บัญญัติเป็นทางการโดยองค์การของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการบัญญัติกฎหมาย2) มีการประกาศรายละเอียดของกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร 3) มีองค์การที่หน้าที่ควบคุมให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎหมาย 4) มีบทลงโทษผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนกฎหมาย
กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มีลักษณะสำคัญ ดังนี้1) เป็นกฎเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติของสมาชิกในสังคมที่บัญญัติเป็นทางการโดยองค์การของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการบัญญัติกฎหมาย2) มีการประกาศรายละเอียดของกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร 3) มีองค์การที่หน้าที่ควบคุมให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎหมาย 4) มีบทลงโทษผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนกฎหมาย
ข้อสังเกตเกี่ยวกับบรรทัดฐาน
1. บรรทัดฐานแต่ละท้องถิ่นสอดคล้องหรือแตกต่างก็ได้ 2. บรรทัดฐานแต่ละท้องถิ่นสามารถเปลี่ยนแปลงได้
3. สังคมชนบทมักใช้จารีตมากกว่า ส่วนสังคมเมืองมักใช้กฎหมายเป็นบรรทัดฐาน
|
โครงสร้างทางสังคม
โครงสร้างทางสังคม
สังคมมนุษย์แม้ว่าจะมีขนาดของสังคมหรือลักษณะเฉพาะของสังคมแตกต่างกัน แต่เมื่อกล่าวถึงโครงสร้างทางสังคมโดยทั่วไปหรือโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมเบื้องต้นแล้ว ทุกสังคมต่างมีองค์ประกอบสำคัญอยู่บนพื้นฐานสองประการที่สำคัญคือกลุ่มสังคมและสถาบันทางสังคม
การศึกษาในเรื่องโครงสร้างทางสังคมจะช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับสังคมในแง่มุมต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่ง โครงสร้างทางสังคมมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ความหมายโครงสร้างทางสังคม
โครงสร้างทางสังคม หมายถึง ส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นระบบความสัมพันธ์ของสังคมมนุษย์ ส่วนประกอบดังกล่าวจะต้องเป็นเค้าโครงที่ปรากฏในสังคมมนุษย์ทุก ๆ สังคม แม้ว่าจะมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละสังคมก็ตาม
โครงสร้างของสังคมไทย แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. สังคมชนบท (กลุ่มปฐมภูมิ)
2. สังคมเมือง (กลุ่มทุติยภูมิ)
โดยที่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอาศัยอยู่ในชนบท ซึ่งเป็นสังคมแบบประเพณีนำ และเป็นสังคมเกษตรกรรม ดังนั้นถ้าหากรู้จักสังคมและวัฒนธรรมไทยจะต้องพิจารณาจากโครงสร้างสังคมชนบทเป็นหลัก และ จะต้องพิจารณาถึงอิทธิพลของสังคมและวัฒนธรรม เมืองที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมชนบทประกอบไปพร้อมๆกันสังคมชนบทจัดว่าเป็นโครงสร้างที่สำคัญที่สุดของสังคมไทย เพราะเท่ากับเป็นโครงสร้างของสังคมไทยทั้งหมด สังคมชนบท ได้แก่ การร่วมกลุ่มแบบอรูปนัยของกลุ่มปฐมภูมิ มีการติดต่อกันแบบตัวถึงตัว สภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิมซึ่งคล้ายคลึงกัน ทำให้สถานภาพและบทบาทของคนในสังคมชนบทไม่แตกต่างกันมาก มีการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น สมาชิกของสังคมทำหน้าที่สอดคล้องต่อเนื่องกันอย่างราบรื่น และมีค่านิยมในเรื่องคุณความดีทางศาสนาเป็นตัวควบคุมความประพฤติทางสังคมของชนบทหรือที่เราเรียกกันว่าจารีตนั่นเอง
สังคมเมือง ข้อแตกต่างที่เด่นชัดระหว่างสังคมชนบทกับสังคมเมือง
สังคมเมือง ข้อแตกต่างที่เด่นชัดระหว่างสังคมชนบทกับสังคมเมือง
ได้แก่ จำนวนกลุ่มขององค์การที่มีมากในสังคมเมืองหลวง หลักเกณฑ์การพิจารณาสถานภาพทางสังคมของบุคคลในเมืองหลวง ขึ้นกับฐานะทางเศรษฐกิจ อำนาจและความเกี่ยวข้องทางการเมือง และระดับการศึกษาซึ่งผิดจากเกณฑ์ของสังคมชนบท นอกจากนั้นแล้วโครงสร้างชนชั้นทางสังคมในเมืองหลวง คือประกอบด้วยกลุ่มคนที่เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลเก่าและขุนนาง ค่านิยมของคนเมืองหลวงนั้นจะเน้นหนักเรื่องอำนาจและความมั่งคั่งมากกว่าชาวชนบท มีความต้องการยกระดับตัวเอง จากชั้นสังคมเดิมไปสู่
ชั้นที่สูงกว่า โดยอาศัยปัจจัยหลายประการ เช่น ฐานะทางการเงิน การศึกษา อำนาจทางการเมือง และสิทธิต่างๆ
ชั้นที่สูงกว่า โดยอาศัยปัจจัยหลายประการ เช่น ฐานะทางการเงิน การศึกษา อำนาจทางการเมือง และสิทธิต่างๆ
ลักษณะมูลฐานของสังคมซึ่งทำให้สังคมดำรงอยู่ได้ หมายถึง องค์ประกอบหลัก (เสาหลัก) ของสังคมที่เป็นตัวค้ำยันสังคมไว้ให้พยายามสัมพันธ์ของคนในสังคมดำเนินไปได้ ประกอบไปด้วย
- ค่านิยม (Social Value) - บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norm)
- สถานภาพ (Status) - บทบาท (Role)
- สถานภาพ (Status) - บทบาท (Role)
- สถาบันทางสังคม (Social Organization) - การควบคุมทางสังคม (Social Control)
ลักษณะโครงสร้างทางสังคม
โดยทั่วไปโครงสร้างทางสังคมโดยทั่วไป มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้1. มีการรวมกลุ่มของคนในสังคม ซึ่งแต่ละกลุ่มที่รวมกันต่างมีหน้าที่รับผิดชอบและประสิทธิภาพในการ ทำงานตามที่กลุ่มได้กำหนดเป้าหมายไว้2. มีแนวทางในการปฏิบัติอย่างเหมาะสมหรือมีกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผนเป็นแนวทางให้ยึดถือร่วมกัน โดยยึดหลักประโยชน์สูงสุดของสังคม3. มีจุดหมายในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดีและมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้กับสังคมนั้น4. มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้ กล่าวคือ โครงสร้างของสังคมจะมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทั้งในแง่ของการเพิ่มขึ้นหรือลดลง ในหลายรูปแบบเช่นจำนวนคนอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากการเคลื่อนย้ายประชากรในสังคม หรือ รูปแบบของความสัมพันธ์ของบุคคลภายในสังคมอาจมีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานภาพที่ปรับเปลี่ยนไปหรือแม้แต่สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ภายในสังคม เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)