ความหมายของ “พลเมืองดี” ในวิถีชีวิตประชาธิปไตย
พจนานุกรมนักเรียนฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำต่าง ๆ ดังนี้
“พลเมือง” หมายถึง ชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน
“วิถี” หมายถึง สาย แนว ทาง ถนน
“ประชาธิปไตย” หมายถึง แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่
ดังนั้นคำว่า “พลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตย” จึงหมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นผู้ที่ยึดมั่น
ในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฏิบัติตนตามกฎหมาย
ดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ
ให้เป็นสังคมและประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริงหลักการทางประชาธิปไตย
หลักการทางประชาธิปไตยที่สำคัญ ได้แก่
1) หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน หมายถึง ประชาชนเป็นเจ้าของ อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ
2) หลักความเสมอภาค หมายถึง ความเท่าเทียมกันในสังคมประชาธิปไตย ถือว่าทุกคนที่เกิดมาจะมีความ
เท่าเทียมกันในฐานะการเป็นประชากรของรัฐ ได้แก่ มีสิทธิเสรีภาพ มีหน้าที่เสมอภาคกัน ไม่มีการแบ่งชนชั้น
หรือการเลือกปฏิบัติ ควรดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่ข่มเหงรังแกคนที่อ่อนแอหรือยากจนกว่า
3) หลักนิติธรรม หมายถึง การใช้หลักกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์การอยู่ร่วมกัน เพื่อความสงบสุขของสังคม
4) หลักเหตุผล หมายถึง การใช้เหตุผลที่ถูกต้องในการตัดสินหรือยุติปัญหาในสังคม
5) หลักการถือเสียงข้างมาก หมายถึง การลงมติโดยยอมรับเสียงส่วนใหญ่ในสังคมประชาธิปไตย ครอบครัว
อ่านเพิ่มเติม
วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558
การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
การประสานประโยชน์
การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและปกป้องผลประโยชน์ของตนและเป็นการระงับกรณีความขัดแย้งที่มาจากการแข่งขันทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
การประสานประโยชน์หรือความร่วมมือระหว่างประเทศนั้น นอกจากเป็นหนทางในการสร้างสันติภาพแลยังเป็นการประสานผลประโยชน์ร่วมกันทั้งทางด้านการค้า การทหาร ตลอดจนวัฒนธรรม จึงทำให้ประเทศ ต่างๆ เห็นความสำคัญในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศเพื่อประสานผลประโยชน์ในด้านต่างๆ ของตน
ประเภทของความร่วมมือระหว่างประเทศ
1. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านเมือง เป็นความร่วมมือของประเทศต่างๆ ที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย
2. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านทหาร ในการให้ความช่วยเหลือทางด้านการทหารต่อกัน เช่น องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต เป็นต้น
3. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ เป็นการร่วมมือเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งหลายประเทศจะร่วมมือกันจัดตั้งเป็นกลุ่มเศรษฐกิจ เช่น สหภาพยุโรป เอเปก องค์การการค้าโลก เป็นต้น
4. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านการศึกษา วัฒนธรรม และอื่นๆ ในการให้ความช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความรู้และอื่นๆ เพื่อเกิดความเข้าใจอันดี ความก้าวหน้า การพิทักษ์คุ้มครองในแต่ละด้านที่มีการตกลงร่วมมือกัน ความร่วมมือด้านนี้ เช่น องค์การยูเนสโก อาเซียน เป็นต้น
5. ความร่วมมือระหว่างประเทศที่เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นที่ได้รับความ เดือดร้อน เช่น ผู้ได้รับภัยพิบัติ ผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ผู้อพยพจากภัยสงคราม เป็นต้น ความร่วมมือลักษณะนี้ เช่น กองทุนเด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟ เป็นต้น
องค์การระหว่างประเทศ
องค์การระหว่างประเทศ หมายถึง องค์การที่รัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปร่วมกันก่อตั้ง มีการประชุมร่วมกันเป็นประจำและมีเจ้าหน้าที่ทำงานเต็มเวลา นโยบายขององค์การระหว่างประเทศจะเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมของรัฐสมาชิกการเข้าเป็นสมาชิกเป็นไปตามความสมัครใจของรัฐ
องค์การระหว่างประเทศตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ในการธำรงรักษาสันติภาพและแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศนั้นจะมีลักษณะเป็นสากล เช่น องค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีแนวทางในการแก้ไขความขัดแย้งต่างๆ ถ้าวัตถุประสงค์ที่จัดตั้งมีลักษณะเฉพาะในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มประเทศ องค์การระหว่างประเทศนั้นจะเป็นองค์การระดับภูมิภาค เช่น องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต องค์การระหว่างประเทศจึงเป็นภาพสะท้อนความพยายามของรัฐต่างๆ เพื่อรักษาสันติภาพหรือพยายามยับยั้งการใช้กำลังรุนแรงเข้าตัดสินความขัดแย้งระหว่างประเทศ
อ่านเพิ่มเติม
การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและปกป้องผลประโยชน์ของตนและเป็นการระงับกรณีความขัดแย้งที่มาจากการแข่งขันทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
การประสานประโยชน์หรือความร่วมมือระหว่างประเทศนั้น นอกจากเป็นหนทางในการสร้างสันติภาพแลยังเป็นการประสานผลประโยชน์ร่วมกันทั้งทางด้านการค้า การทหาร ตลอดจนวัฒนธรรม จึงทำให้ประเทศ ต่างๆ เห็นความสำคัญในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศเพื่อประสานผลประโยชน์ในด้านต่างๆ ของตน
ประเภทของความร่วมมือระหว่างประเทศ
1. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านเมือง เป็นความร่วมมือของประเทศต่างๆ ที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย
2. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านทหาร ในการให้ความช่วยเหลือทางด้านการทหารต่อกัน เช่น องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต เป็นต้น
3. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ เป็นการร่วมมือเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งหลายประเทศจะร่วมมือกันจัดตั้งเป็นกลุ่มเศรษฐกิจ เช่น สหภาพยุโรป เอเปก องค์การการค้าโลก เป็นต้น
4. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านการศึกษา วัฒนธรรม และอื่นๆ ในการให้ความช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความรู้และอื่นๆ เพื่อเกิดความเข้าใจอันดี ความก้าวหน้า การพิทักษ์คุ้มครองในแต่ละด้านที่มีการตกลงร่วมมือกัน ความร่วมมือด้านนี้ เช่น องค์การยูเนสโก อาเซียน เป็นต้น
5. ความร่วมมือระหว่างประเทศที่เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นที่ได้รับความ เดือดร้อน เช่น ผู้ได้รับภัยพิบัติ ผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ผู้อพยพจากภัยสงคราม เป็นต้น ความร่วมมือลักษณะนี้ เช่น กองทุนเด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟ เป็นต้น
องค์การระหว่างประเทศ
องค์การระหว่างประเทศ หมายถึง องค์การที่รัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปร่วมกันก่อตั้ง มีการประชุมร่วมกันเป็นประจำและมีเจ้าหน้าที่ทำงานเต็มเวลา นโยบายขององค์การระหว่างประเทศจะเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมของรัฐสมาชิกการเข้าเป็นสมาชิกเป็นไปตามความสมัครใจของรัฐ
องค์การระหว่างประเทศตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ในการธำรงรักษาสันติภาพและแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศนั้นจะมีลักษณะเป็นสากล เช่น องค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีแนวทางในการแก้ไขความขัดแย้งต่างๆ ถ้าวัตถุประสงค์ที่จัดตั้งมีลักษณะเฉพาะในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มประเทศ องค์การระหว่างประเทศนั้นจะเป็นองค์การระดับภูมิภาค เช่น องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต องค์การระหว่างประเทศจึงเป็นภาพสะท้อนความพยายามของรัฐต่างๆ เพื่อรักษาสันติภาพหรือพยายามยับยั้งการใช้กำลังรุนแรงเข้าตัดสินความขัดแย้งระหว่างประเทศ
อ่านเพิ่มเติม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความหมาย
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยรัฐหรือตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสังคม ซึ่งเกิดขึ้นข้ามขอบเขตของกลุ่มสังคมการเมืองหนึ่ง ๆ ในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยด้วยกัน หรือกลุ่มคนไทยด้วยกันในประเทศไทย ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับคนลาวถือว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือ และความขัดแย้งระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมโลก
ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐดังที่กล่าวข้างต้นนั้น อาจมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
1. ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาจกระทำอย่างเป็นทางการโดยรัฐ หรือโดยตัวแทนที่ชอบธรรมของรัฐ เช่นการประชุมสุดยอด การดำเนินการทางการฑูต การแถลงการณ์ประท้วง การยื่นประท้วงต่อองค์การสหประชาชาติ หรืออาจเป็นการกระทำไม่เป็นทางการ เช่น การก่อการร้าย การกระทำจารกรรม การโจมตีประเทศหนึ่งโดยสื่อมวลชนของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งไม่ได้กระทำการในนามของรัฐ เป็นต้น
2. ความสัมพันธ์ในลักษณะร่วมมือหรือขัดแย้ง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น หากไม่ร่วมมือก็ขัดแย้ง ความสัมพันธ์ในลักษณะขัดแย้ง เช่น สงคราม การแทรกแซงบ่อนทำลาย การขยายจักรวรรดินิยม การผนวกดินแดนของอีกประเทศหนึ่ง ส่วนความร่วมมือ ได้แก่ การกระชับความสัมพันธ์ทางการฑูต การร่วมเป็นพันธมิตร การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและวัฒนธรรมเป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ต่าง ๆ นี้อาจมีลักษณะผสมผสานกันได้ เช่น บางครั้งรุนแรง บางครั้งนุ่มนวล บางครั้งเป็นทางการ บางครั้งกึ่งทางการ หรือบางครั้งร่วมมือในเรื่องหนึ่งแต่ขัดแย้งในอีกเรื่องหนึ่ง เป็นต้น
ขอบเขตของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีขอบเขตที่ครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ทางการเมือง หมายถึง กิจกรรมข้ามพรมแดนเพื่อมีอิทธิพลหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรตลอดจนการตัดสินใจขององค์การหรือรัฐบางต่างประเทศ เช่น การดำเนินการทางการฑูต การทหาร การแสวงหาพันธมิตร การแทรกแซงบ่อนทำลายประเทศอื่น การใช้กำลังบีบบังคับ การกำหนดและดำเนินนโยบายต่างประเทศ เป็นต้น กิจกรรมบางเรื่องอาจไม่เป็นกิจกรรมการเมืองโดยตรง แต่หากมีวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น ก็ถือเป็นกิจกรรมการเมืองเช่นกัน เช่น การแลกเปลี่ยนทีมนักปิงปองระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2514 มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองเนื่องจากประเทศทั้งสองต้องการใช้กีฬาเป็นเครื่องมือผ่อนคลายความตึงเครียด และรื้อฟื้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ หลังจากเป็นศัตรูกันมาตลอด กิจกรรมเช่นนี้เรียกว่า การเมืองระหว่างประเทศ
2. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ หมายถึง กิจกรรมการแลกเปลี่ยนทรัพยากรด้านบริการหรือวัตถุเพื่อตอบสนองความต้องการในการอุปโภคของผู้แลกเปลี่ยน เช่น การซื้อขายสินค้า การให้ทุนกู้ยืม การธนาคาร เป็นต้น เนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรแตกต่างและไม่เท่าเทียมกัน และยังต้องการทรัพยากรของประเทศอื่นหรือบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกามีทรัพยากรน้ำมัน แต่ยังต้องการรักษาน้ำมันสำรองในปัจจุบันจึงซื้อน้ำมันจากประเทศเม็กซิโก และประเทศอาหรับ ความต้องการทรัพยากรซึ่งกันและกันเช่นนี้ทำให้เกิดความสัมพันธ์เพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากร (วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เกษตรกรรม เทคโนโลยี บริการ ฯลฯ) โดยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าโดยการซื้อขาย ให้ แลกเปลี่ยน ยืม ก็ตาม โดยมีกฎเกณฑ์หรือแนวทางปฏิบัติบางประการทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร การปิดล้อมทางเศรษฐกิจ การตั้งกำแพงภาษี การกำหนดอัตราหุ้นและดอกเบี้ย เป็นต้น ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเช่นนี้ เรียกว่า เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
3. ความสัมพันธ์ทางสังคม หมายถึง กิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา การศาสนา วัฒนธรรม การพักผ่อนหย่อนใจ การท่องเที่ยว ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมข้ามขอบเขตพรมแดนของรัฐ เช่น การส่งฑูตวัฒนธรรมหรือคณะนาฎศิลป์ไปแสดงในประเทศต่าง ๆ การเผยแพร่ศาสนาโดยตัวแทนทางศาสนาของประเทศอื่น การเผยแพร่ศิลปะของประเทศหนึ่งในประเทศอื่น เป็นต้น
4. ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย เมื่อมีการแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ข้ามเขตพรมแดนของรัฐมากขึ้น เพื่อให้กิจกรรมดังกล่าวดำเนินไปโดยเรียบร้อยและมีระเบียบแบบแผน ประเทศต่าง ๆ จึงได้กำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือแนวทางปฏิบัติที่แต่ละประเทศพึงยึดถือปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ขึ้น กฎเกณฑ์หรือระเบียบนี้อาจปรากฏในรูปข้อตกลงลายลักษณ์อักษร ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เป็นต้นว่า สนธิสัญญา อนุสัญญา กติกาสัญญา กฎบัตร ความตกลง ฯลฯ
5. ความสัมพันธ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ประเภทนี้มุ่งให้มีการแลกเปลี่ยนพัฒนาความรู้และความช่วยเหลือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น มีการร่วมมือกันค้นคว้าทดลองและวิจัยในบริเวณทวีปแอนตาร์กติกา การร่วมมือกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์หลายประเทศ เพื่อกำจัดโรคภัยไข้เจ็บสำคัญ เช่น โรคมะเร็ง การร่วมมือกันส่งเสริมพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การให้รางวัลระหว่างประเทศ จัดการประชุมสัมมนาระหว่างประเทศ เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความหมาย
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยรัฐหรือตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสังคม ซึ่งเกิดขึ้นข้ามขอบเขตของกลุ่มสังคมการเมืองหนึ่ง ๆ ในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยด้วยกัน หรือกลุ่มคนไทยด้วยกันในประเทศไทย ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับคนลาวถือว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือ และความขัดแย้งระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมโลก
ลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐดังที่กล่าวข้างต้นนั้น อาจมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
1. ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาจกระทำอย่างเป็นทางการโดยรัฐ หรือโดยตัวแทนที่ชอบธรรมของรัฐ เช่นการประชุมสุดยอด การดำเนินการทางการฑูต การแถลงการณ์ประท้วง การยื่นประท้วงต่อองค์การสหประชาชาติ หรืออาจเป็นการกระทำไม่เป็นทางการ เช่น การก่อการร้าย การกระทำจารกรรม การโจมตีประเทศหนึ่งโดยสื่อมวลชนของอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งไม่ได้กระทำการในนามของรัฐ เป็นต้น
2. ความสัมพันธ์ในลักษณะร่วมมือหรือขัดแย้ง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น หากไม่ร่วมมือก็ขัดแย้ง ความสัมพันธ์ในลักษณะขัดแย้ง เช่น สงคราม การแทรกแซงบ่อนทำลาย การขยายจักรวรรดินิยม การผนวกดินแดนของอีกประเทศหนึ่ง ส่วนความร่วมมือ ได้แก่ การกระชับความสัมพันธ์ทางการฑูต การร่วมเป็นพันธมิตร การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและวัฒนธรรมเป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ต่าง ๆ นี้อาจมีลักษณะผสมผสานกันได้ เช่น บางครั้งรุนแรง บางครั้งนุ่มนวล บางครั้งเป็นทางการ บางครั้งกึ่งทางการ หรือบางครั้งร่วมมือในเรื่องหนึ่งแต่ขัดแย้งในอีกเรื่องหนึ่ง เป็นต้น
ขอบเขตของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีขอบเขตที่ครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ทางการเมือง หมายถึง กิจกรรมข้ามพรมแดนเพื่อมีอิทธิพลหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรตลอดจนการตัดสินใจขององค์การหรือรัฐบางต่างประเทศ เช่น การดำเนินการทางการฑูต การทหาร การแสวงหาพันธมิตร การแทรกแซงบ่อนทำลายประเทศอื่น การใช้กำลังบีบบังคับ การกำหนดและดำเนินนโยบายต่างประเทศ เป็นต้น กิจกรรมบางเรื่องอาจไม่เป็นกิจกรรมการเมืองโดยตรง แต่หากมีวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น ก็ถือเป็นกิจกรรมการเมืองเช่นกัน เช่น การแลกเปลี่ยนทีมนักปิงปองระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2514 มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองเนื่องจากประเทศทั้งสองต้องการใช้กีฬาเป็นเครื่องมือผ่อนคลายความตึงเครียด และรื้อฟื้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ หลังจากเป็นศัตรูกันมาตลอด กิจกรรมเช่นนี้เรียกว่า การเมืองระหว่างประเทศ
2. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ หมายถึง กิจกรรมการแลกเปลี่ยนทรัพยากรด้านบริการหรือวัตถุเพื่อตอบสนองความต้องการในการอุปโภคของผู้แลกเปลี่ยน เช่น การซื้อขายสินค้า การให้ทุนกู้ยืม การธนาคาร เป็นต้น เนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรแตกต่างและไม่เท่าเทียมกัน และยังต้องการทรัพยากรของประเทศอื่นหรือบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกามีทรัพยากรน้ำมัน แต่ยังต้องการรักษาน้ำมันสำรองในปัจจุบันจึงซื้อน้ำมันจากประเทศเม็กซิโก และประเทศอาหรับ ความต้องการทรัพยากรซึ่งกันและกันเช่นนี้ทำให้เกิดความสัมพันธ์เพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยากร (วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เกษตรกรรม เทคโนโลยี บริการ ฯลฯ) โดยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าโดยการซื้อขาย ให้ แลกเปลี่ยน ยืม ก็ตาม โดยมีกฎเกณฑ์หรือแนวทางปฏิบัติบางประการทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร การปิดล้อมทางเศรษฐกิจ การตั้งกำแพงภาษี การกำหนดอัตราหุ้นและดอกเบี้ย เป็นต้น ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเช่นนี้ เรียกว่า เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
3. ความสัมพันธ์ทางสังคม หมายถึง กิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา การศาสนา วัฒนธรรม การพักผ่อนหย่อนใจ การท่องเที่ยว ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมข้ามขอบเขตพรมแดนของรัฐ เช่น การส่งฑูตวัฒนธรรมหรือคณะนาฎศิลป์ไปแสดงในประเทศต่าง ๆ การเผยแพร่ศาสนาโดยตัวแทนทางศาสนาของประเทศอื่น การเผยแพร่ศิลปะของประเทศหนึ่งในประเทศอื่น เป็นต้น
4. ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย เมื่อมีการแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ข้ามเขตพรมแดนของรัฐมากขึ้น เพื่อให้กิจกรรมดังกล่าวดำเนินไปโดยเรียบร้อยและมีระเบียบแบบแผน ประเทศต่าง ๆ จึงได้กำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือแนวทางปฏิบัติที่แต่ละประเทศพึงยึดถือปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ขึ้น กฎเกณฑ์หรือระเบียบนี้อาจปรากฏในรูปข้อตกลงลายลักษณ์อักษร ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เป็นต้นว่า สนธิสัญญา อนุสัญญา กติกาสัญญา กฎบัตร ความตกลง ฯลฯ
5. ความสัมพันธ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ประเภทนี้มุ่งให้มีการแลกเปลี่ยนพัฒนาความรู้และความช่วยเหลือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น มีการร่วมมือกันค้นคว้าทดลองและวิจัยในบริเวณทวีปแอนตาร์กติกา การร่วมมือกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์หลายประเทศ เพื่อกำจัดโรคภัยไข้เจ็บสำคัญ เช่น โรคมะเร็ง การร่วมมือกันส่งเสริมพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การให้รางวัลระหว่างประเทศ จัดการประชุมสัมมนาระหว่างประเทศ เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน (Human Right)
สิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
1. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) หมายถึง คุณสมบัติ จิตใจ สิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวนของมนุษย์ทุกคน และรักษาไว้มิให้บุคคลอื่นมาล่วงละเมิดได้ การถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครองและได้รับความยุติธรรมจากรัฐ
2. สาเหตุที่มนุษย์ต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เกิดจาก
1. มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วย่อมมีสิทธิในตัวเอง
2. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม
3. มนุษย์มีเกียรติภูมิที่เกิดมาเป็นมนุษย์
4. มนุษย์ทุกคนเกิดมามีฐานะไม่เท่าเทียมกัน
3. หลักการสำคัญที่สุดของสิทธิมนุษยชน คือ มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ และกำหนดให้รัฐบาล ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐดำเนินการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคน
4. การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
1. สังคมไทยเป็นสังคมที่ต่างเชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพันธุ์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ จนกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นไทยโดยไม่มีการแตกแยก ยอมรับความหลากหลาย มีจิตใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน จึงไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเรื่องการแบ่งชนชั้น หรือเผ่าพันธุ์ แต่การละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ยังปรากฏอย่างต่อเนื่อง เช่น การละเมิดสิทธิเด็ก เช่น การละเมิดทางเพศ แรงงาน ยาเสพติด อบายมุข ความรุนแรงในการลงโทษ การละเมิดสิทธิสตรี ในสังคมไทยยังปรากฏการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงในครองครัว ความรุนแรงทางเพศในที่สาธารณะ ที่บ้าน ที่ทำงาน สถานกักกัน การล่อลวงทางอินเตอร์เน็ต โรงภาพยนตร์ บนรถเมล์
2. การเข้ามามีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน บุคคลควรมีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนใน สังคมไทยต่อไปนี้
1. ศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่พัฒนาความรู้ ทักษะ ค่านิยมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
2. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของตนเอง บุคลิกภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเต็มที่
3. มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชาติบ้านเมืองอย่างมีอิสรเสรีภาพ
องค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย มีดังนี้
1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
2. ศาลต่าง ๆ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร
3. มูลนิธิเพื่อพัฒนาเด็ก
4. มูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจน ซี.ซี.เอฟ
5. มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
6. มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี
อ่านเพิ่มเติม
สิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
1. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) หมายถึง คุณสมบัติ จิตใจ สิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวนของมนุษย์ทุกคน และรักษาไว้มิให้บุคคลอื่นมาล่วงละเมิดได้ การถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครองและได้รับความยุติธรรมจากรัฐ
2. สาเหตุที่มนุษย์ต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เกิดจาก
1. มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วย่อมมีสิทธิในตัวเอง
2. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม
3. มนุษย์มีเกียรติภูมิที่เกิดมาเป็นมนุษย์
4. มนุษย์ทุกคนเกิดมามีฐานะไม่เท่าเทียมกัน
3. หลักการสำคัญที่สุดของสิทธิมนุษยชน คือ มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ และกำหนดให้รัฐบาล ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐดำเนินการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคน
4. การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
1. สังคมไทยเป็นสังคมที่ต่างเชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพันธุ์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ จนกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นไทยโดยไม่มีการแตกแยก ยอมรับความหลากหลาย มีจิตใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน จึงไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเรื่องการแบ่งชนชั้น หรือเผ่าพันธุ์ แต่การละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ยังปรากฏอย่างต่อเนื่อง เช่น การละเมิดสิทธิเด็ก เช่น การละเมิดทางเพศ แรงงาน ยาเสพติด อบายมุข ความรุนแรงในการลงโทษ การละเมิดสิทธิสตรี ในสังคมไทยยังปรากฏการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงในครองครัว ความรุนแรงทางเพศในที่สาธารณะ ที่บ้าน ที่ทำงาน สถานกักกัน การล่อลวงทางอินเตอร์เน็ต โรงภาพยนตร์ บนรถเมล์
2. การเข้ามามีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน บุคคลควรมีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนใน สังคมไทยต่อไปนี้
1. ศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่พัฒนาความรู้ ทักษะ ค่านิยมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
2. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของตนเอง บุคลิกภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเต็มที่
3. มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชาติบ้านเมืองอย่างมีอิสรเสรีภาพ
องค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย มีดังนี้
1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
2. ศาลต่าง ๆ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร
3. มูลนิธิเพื่อพัฒนาเด็ก
4. มูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจน ซี.ซี.เอฟ
5. มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
6. มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี
อ่านเพิ่มเติม
หน่วยการเรียนรู้ที่6 กฏหมาย
บทที่ 3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวเองครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ และสังคม
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติและสังคมโลก
สาระการเรียนรู้
1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย
2. กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว
3. กำหมายแพ่งที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา
4. กฎหมายอาญา
5. โมฆกรรมและโมฆียกรรม
6. กฎหมายอื่นที่สำคัญ
7. ข้อตกลงระหว่างประเทศ
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย
1. ความหมายของกฎหมาย
กฎหมาย คือ กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม
2. ความสำคัญของกฎหมาย
2.1 เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยในสังคม กิจกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศ จะมีทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
2.2 เพื่อควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในสังคมให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม
2.3 เพื่อปกป้องและรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
3. ลักษณะของกฎหมาย
3.1 เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับเพื่อให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติที่มีผลบังคับครอบคุมอย่างกว้างขว้างภายในอาณาเขตของรัฐแห่งหนึ่งๆ
3.2 เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ตราขึ้นโดยรัฐ
3.3 ต้องมีสภาพบังคับกฎหมายเมื่อตราออกมาหรือประกาศใช้แล้ว
3.4 มีผลใช้บังคับตลอดไป
3.5 มีความเสมอภาคและยุติธรรม
4. ประเภทของกฎหมาย อ่านเพิ่มเติม
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติและสังคมโลก
สาระการเรียนรู้
1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย
2. กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว
3. กำหมายแพ่งที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา
4. กฎหมายอาญา
5. โมฆกรรมและโมฆียกรรม
6. กฎหมายอื่นที่สำคัญ
7. ข้อตกลงระหว่างประเทศ
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย
1. ความหมายของกฎหมาย
กฎหมาย คือ กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม
2. ความสำคัญของกฎหมาย
2.1 เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยในสังคม กิจกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศ จะมีทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
2.2 เพื่อควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในสังคมให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม
2.3 เพื่อปกป้องและรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
3. ลักษณะของกฎหมาย
3.1 เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับเพื่อให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติที่มีผลบังคับครอบคุมอย่างกว้างขว้างภายในอาณาเขตของรัฐแห่งหนึ่งๆ
3.2 เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ตราขึ้นโดยรัฐ
3.3 ต้องมีสภาพบังคับกฎหมายเมื่อตราออกมาหรือประกาศใช้แล้ว
3.4 มีผลใช้บังคับตลอดไป
3.5 มีความเสมอภาคและยุติธรรม
4. ประเภทของกฎหมาย อ่านเพิ่มเติม
สถานะของพระมหากษัตริย์
พระราชสถานะทางสังคม
สังคมไทยยกย่องเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันคู่บ้านคู่เมือง เป็นสัญลักษณ์ของชาติ ทรงได้รับการเชิดชูจากสังคมไทย ดังนี้
1. ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงทำให้เกิดความสำนึกในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้ทุกสถาบันมีจุดรวมจากแหล่งเดียวกัน แม้จะมีความแตกต่างกันในด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา ก็มีความสมานสามัคคีกลมเกลียวกันในหมู่ชนเหล่านั้น ทรงรักใคร่ห่วงใยประชาชน ทรงมีเมตตาต่อประชาชนทุกหมู่เหล่า พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นถิ่นทุรกันดารหรือมีอันตรายเพียงใด เพื่อทรงทราบถึงทุกข์สุขของประชาชน ประชาชนก็มีความผูกกันกับพระมหากษัตริย์อย่างลึกซึ้ง แน่นแฟ้น มั่นคง จนยากที่จะทำให้สั่นคลอนหรือแตกแยกได้
2. ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งความต่อเนื่องของชาติ พระมหากษัตรีย์ทรงเป็นประมุขของชาติไทยสืบต่อกันมาโดยไม่ขาดสายตั้งแต่ อาณาจักรไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่ารัฐบาลจะเปลี่ยนไปกี่ยุคสมัยก็ตาม ทำให้ระบบการเมืองและชาติไทยมีความสมานฉันท์และต่อเนื่องตลอดเวลา
3. ทรงเป็นพลังในการสร้างขวัญและกำลังใจของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาของแหล่งเกียรติยศทั้งปวง ก่อให้เกิดความภาคภูมิ ปิติยินดี และเกิดกำลังใจในหมู่ประชาชนทั่วไปที่จะรักษาคุณงามความดีและพยายามกระทำความดี เพื่อให้พระมหากษัตริย์สบายพระทัย
4. ทรงมีส่วนสำคัญในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงขึ้นครองราชย์ด้วยความเห็นชอบยอมรับของประชาชน และทรงใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชนในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและบ้านเมืองเป็นสำคัญ ซึ่งอาจต่างจาก
ประมุขของประเทศอื่นที่ขึ้นดำรงตำแหน่งโดยการเลือกตั้ง จึงต้องยึดนโยบายของกลุ่มหรือพรรคการเมืองที่ตนสังกัดเป็นหลัก
5. ทรงแก้ไขวิกฤตการณ์ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นกลไกสำคัญในการยับยั้งและแก้ไขวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงภายในประเทศได้ ในบางครั้งประเทศไทยเกิดการขัดแย้งกันเองตามระบอบประชาธิปไตย พระมหากษัตริย์ ก็สามารถยุติได้ด้วยพระบารมีของพระองค์ เช่น เหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยเมืองเดือนตุลาคม 2516 และเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 เป็นต้น
6. ทรงส่งเสริมความมั่นคงของประเทศ พระมหากษัตริย์เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ทั้งประชาชน รัฐบาล หน่วยราชการ กองทัพ นิสิต นักศึกษา ปัญญาชน หรือกลุ่มต่าง ๆ แม้กระทั่งชนกลุ่มน้อยในประเทศ เช่น ชาวไทยภูเขา ชาวไทยมุสลิม เป็นต้น ทำให้ทุกฝ่ายมีความมุ่งมั่นและมีความพรักพร้อมที่จะรักษาความมั่นคงและเอกราชของชาติไว้
7. ทรงมีส่วนเสริมสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตได้ทรงดำเนินวิเทโศบายได้อย่างดีจนสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ โดยเฉพาะสมัยการล่าเมืองขึ้นของชาติตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจในยุโรป สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ก็ทรงดำเนินการให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศต่าง ๆ กับประเทศไทย โดยเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยือนประเทศต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 31 ประเทศ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับต่างประเทศดำเนินไปได้อย่างสะดวกและราบรื่น
8. ทรงเป็นผู้นำในการพัฒนาและปฏิรูปด้านต่าง ๆ การพัฒนาและการปฏิรูปที่สำคัญ ๆ ของชาติส่วนใหญ่ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำ ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงปูพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยจัดตั้งกระทรวงต่าง ๆ ทรงส่งเสริมการศึกษาและเลิกทาส กระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบันได้ทรงเกื้อหนุนวิทยาการสาขาต่าง ๆ ทรงสนับสนุนการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม ทรงริเริ่มกิจการอันเป็นการแก้ปัญหาหลัก ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ผ่านโครงการ
พระราชดำริ ซึ่งมุ่งเน้นการแก้ปัญหาให้แก่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ได้แก่ ชาวนา ชาวไร่ และประชาชนผู้ด้อยโอกาส เช่น โครงการพัฒนาที่ดิน โครงการสหกรณ์ โครงการพัฒนาชาวเขา และการเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นต้น
9. ทรงมีส่วนเกื้อหนุนระบอบประชาธิปไตย สถาบันพระมหากษัตริย์มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยให้มีความเข้มแข็งและมั่นคง เพราะการที่ประชาชนเกิดความจงรักภักดีและเชื่อมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้ประชาชน
เกิดความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วย เนื่องจากเห็นว่าเป็นระบอบการปกครองที่เชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะของประชนนั่นเอง
สังคมไทยยกย่องเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันคู่บ้านคู่เมือง เป็นสัญลักษณ์ของชาติ ทรงได้รับการเชิดชูจากสังคมไทย ดังนี้
1. ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงทำให้เกิดความสำนึกในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้ทุกสถาบันมีจุดรวมจากแหล่งเดียวกัน แม้จะมีความแตกต่างกันในด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา ก็มีความสมานสามัคคีกลมเกลียวกันในหมู่ชนเหล่านั้น ทรงรักใคร่ห่วงใยประชาชน ทรงมีเมตตาต่อประชาชนทุกหมู่เหล่า พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นถิ่นทุรกันดารหรือมีอันตรายเพียงใด เพื่อทรงทราบถึงทุกข์สุขของประชาชน ประชาชนก็มีความผูกกันกับพระมหากษัตริย์อย่างลึกซึ้ง แน่นแฟ้น มั่นคง จนยากที่จะทำให้สั่นคลอนหรือแตกแยกได้
2. ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งความต่อเนื่องของชาติ พระมหากษัตรีย์ทรงเป็นประมุขของชาติไทยสืบต่อกันมาโดยไม่ขาดสายตั้งแต่ อาณาจักรไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่ารัฐบาลจะเปลี่ยนไปกี่ยุคสมัยก็ตาม ทำให้ระบบการเมืองและชาติไทยมีความสมานฉันท์และต่อเนื่องตลอดเวลา
3. ทรงเป็นพลังในการสร้างขวัญและกำลังใจของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาของแหล่งเกียรติยศทั้งปวง ก่อให้เกิดความภาคภูมิ ปิติยินดี และเกิดกำลังใจในหมู่ประชาชนทั่วไปที่จะรักษาคุณงามความดีและพยายามกระทำความดี เพื่อให้พระมหากษัตริย์สบายพระทัย
4. ทรงมีส่วนสำคัญในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงขึ้นครองราชย์ด้วยความเห็นชอบยอมรับของประชาชน และทรงใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชนในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและบ้านเมืองเป็นสำคัญ ซึ่งอาจต่างจาก
ประมุขของประเทศอื่นที่ขึ้นดำรงตำแหน่งโดยการเลือกตั้ง จึงต้องยึดนโยบายของกลุ่มหรือพรรคการเมืองที่ตนสังกัดเป็นหลัก
5. ทรงแก้ไขวิกฤตการณ์ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นกลไกสำคัญในการยับยั้งและแก้ไขวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงภายในประเทศได้ ในบางครั้งประเทศไทยเกิดการขัดแย้งกันเองตามระบอบประชาธิปไตย พระมหากษัตริย์ ก็สามารถยุติได้ด้วยพระบารมีของพระองค์ เช่น เหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยเมืองเดือนตุลาคม 2516 และเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 เป็นต้น
6. ทรงส่งเสริมความมั่นคงของประเทศ พระมหากษัตริย์เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ทั้งประชาชน รัฐบาล หน่วยราชการ กองทัพ นิสิต นักศึกษา ปัญญาชน หรือกลุ่มต่าง ๆ แม้กระทั่งชนกลุ่มน้อยในประเทศ เช่น ชาวไทยภูเขา ชาวไทยมุสลิม เป็นต้น ทำให้ทุกฝ่ายมีความมุ่งมั่นและมีความพรักพร้อมที่จะรักษาความมั่นคงและเอกราชของชาติไว้
7. ทรงมีส่วนเสริมสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตได้ทรงดำเนินวิเทโศบายได้อย่างดีจนสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ โดยเฉพาะสมัยการล่าเมืองขึ้นของชาติตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจในยุโรป สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ก็ทรงดำเนินการให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศต่าง ๆ กับประเทศไทย โดยเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยือนประเทศต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 31 ประเทศ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับต่างประเทศดำเนินไปได้อย่างสะดวกและราบรื่น
8. ทรงเป็นผู้นำในการพัฒนาและปฏิรูปด้านต่าง ๆ การพัฒนาและการปฏิรูปที่สำคัญ ๆ ของชาติส่วนใหญ่ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำ ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงปูพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยจัดตั้งกระทรวงต่าง ๆ ทรงส่งเสริมการศึกษาและเลิกทาส กระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบันได้ทรงเกื้อหนุนวิทยาการสาขาต่าง ๆ ทรงสนับสนุนการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม ทรงริเริ่มกิจการอันเป็นการแก้ปัญหาหลัก ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ผ่านโครงการ
พระราชดำริ ซึ่งมุ่งเน้นการแก้ปัญหาให้แก่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ได้แก่ ชาวนา ชาวไร่ และประชาชนผู้ด้อยโอกาส เช่น โครงการพัฒนาที่ดิน โครงการสหกรณ์ โครงการพัฒนาชาวเขา และการเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นต้น
9. ทรงมีส่วนเกื้อหนุนระบอบประชาธิปไตย สถาบันพระมหากษัตริย์มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยให้มีความเข้มแข็งและมั่นคง เพราะการที่ประชาชนเกิดความจงรักภักดีและเชื่อมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้ประชาชน
เกิดความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วย เนื่องจากเห็นว่าเป็นระบอบการปกครองที่เชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะของประชนนั่นเอง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (อังกฤษ: democratic form of government with the King as Head of State[1]) เป็นชื่อเรียกระบอบการปกครองในประเทศไทย ที่รวมเอาทั้งรูปแบบการปกครอง (form of government) ประเภทประชาธิปไตยโดยมีรัฐสภา (parliamentary democracy) กับรูปแบบรัฐ (form of state) ประเภทการปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy[2]) ไว้ในคำเดียวกัน
สำหรับที่มานั้น วลีที่ว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" เพิ่งจะมีขึ้นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492[3] โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ความว่า "ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" ทั้งนี้ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ ได้ให้ความเห็นไว้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวร่างขึ้นภายใต้อิทธิพลของพลังอนุรักษนิยม ซึ่งขณะนั้นมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทนทางการเมืองที่สำคัญ แต่การปรากฏขึ้นครั้งแรกนี้ ยังไม่ได้ยืนยันความเป็นชื่อเฉพาะของระบอบการปกครองแต่อย่างใด[4] หากแต่การปรากฏขึ้นซ้ำในภายหลัง คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 และ พ.ศ. 2519 เป็นสองฉบับแรกที่ยืนยันความชอบธรรมของ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"[4]สมศักดิ์ได้ให้ความเห็นไว้อีกว่า หน้าที่ (function) ของการยืนยันในสองฉบับมีความต่างกัน โดยฉบับ พ.ศ. 2511 เพื่อต่อต้านการเมืองและพรรคการเมืองสมัยใหม่ที่เพิ่งปรากฏตัวขึ้น และฉบับ พ.ศ. 2519 เพื่อต่อต้านฝ่ายซ้าย[4]
ภายในระบอบการปกครองเช่นนี้ของประเทศไทย แตกต่างไปจากธรรมเนียมการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ที่จะมีอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน และพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขแต่ในทางพิธีการ ทั้งนี้ เพราะพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย มีพระราชอำนาจทางการเมืองเกินกว่าที่เป็นในประเทศประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญประเทศอื่น เช่น ทรงสามารถแสดงพระราชดำรัสสด, บริหารงานสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์[5] และแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น องคมนตรี โดยไม่มีผู้สนองบรมราชโองการ [6]
สำหรับกรณีของประเทศอังกฤษซึ่งถือเป็นตัวอย่างของประเทศที่ยังคงมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น Penny Junor นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือของเธอว่า [7]
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว... มีพระมหากษัตริย์และพระราชินีปกครองแผ่นดิน. […] หนึ่งร้อยยี่สิบปีต่อมา, ภายหลังการเปลี่ยนแปลงหลายประการ (และช่วงเวลาสั้น ๆ ในศตวรรษที่สิบเจ็ด ซึ่งปราศจากกษัตริย์) พวกเรามีพระราชินีผู้ไร้ซึ่งอำนาจในการบริหาร, ผู้ซึ่งกระทำการต่าง ๆ โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี, ผู้ซึ่งอ่านพระราชดำรัสซึ่งผู้อื่นเป็นคนร่างขึ้น
สถาบันกษัตริย์จะต้องอยู่เหนือการเมือง เพราะองค์พระราชินีเป็นตัวแทนของชาติทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นสี, ความเชื่อ หรือการเมือง, ไม่ว่าจะด้วยสถานะ หรือสถานการณ์, หรือแม้กระทั่งยุคสมัยของพวกเขา - พระองค์เป็นศูนย์รวมของพลังภายในประเทศ เป็นเสมือนกาวประสานพวกเราเอาไว้ด้วยกัน และนั่นคือความเข้มแข็งของพระองค์. พระองค์เป็นของคนทุกคน, ด้วยไม่มีใครออกเสียงเพื่อพระองค์ และเสียงของพวกเขาจะไม่ถูกมอบให้กับใครอื่นอีก. หากว่าพระองค์ทรงแสดงความคิดเห็นซึ่งสามารถนำไปอ้างได้โดยพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง ย่อมสร้างความแบ่งฝักฝ่ายในหมู่เหล่าของประชากรโดยพลัน และนั่นย่อมก่อให้เกิดความแตกแยก และเมื่อพระองค์มิได้ทรงกระทำ - พระองค์ย่อมเป็นผู้ซึ่งไม่อาจหยั่งถึงได้อย่างถึงที่สุด
ทั้งนี้ หากกล่าวถึงการเป็นประมุขในทางพิธีการของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น ก็คือ เป็นพิธีการที่ทรงบริหารอำนาจอธิปไตยแทนปวงชนโดยแบ่งแยกอำนาจนั้นเป็นสามฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ อำนาจอธิปไตยนั้นผ่านมายังสภานิติบัญญัติที่เรียก "รัฐสภา" ฝ่ายบริหาร อำนาจอธิปไตยนั้นผ่านมายังกลุ่มผู้บริหารสูงสุดที่เรียก "คณะรัฐมนตรี" และฝ่ายตุลาการ อำนาจอธิปไตยนั้นผ่านมายังศาลทั้งหลาย ซึ่งมีสามประเภท คือ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ แต่ความจริงแล้ว องค์กรเหล่านั้นเป็นปวงชนหรือผู้แทนของปวงชนที่บริหารอำนาจด้วยตนเองเพื่อประโยชน์ของปวงชนและโดยการควบคุมของปวงชน ส่วนพระมหากษัตริย์เป็นแต่เชิดให้กิจการดำเนินไปด้วยดีตามพระราชภารกิจทางพิธีการที่รัฐธรรมนูญมอบให้เท่านั้น
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (อังกฤษ: democratic form of government with the King as Head of State[1]) เป็นชื่อเรียกระบอบการปกครองในประเทศไทย ที่รวมเอาทั้งรูปแบบการปกครอง (form of government) ประเภทประชาธิปไตยโดยมีรัฐสภา (parliamentary democracy) กับรูปแบบรัฐ (form of state) ประเภทการปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy[2]) ไว้ในคำเดียวกัน
สำหรับที่มานั้น วลีที่ว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" เพิ่งจะมีขึ้นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492[3] โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ความว่า "ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" ทั้งนี้ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ ได้ให้ความเห็นไว้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวร่างขึ้นภายใต้อิทธิพลของพลังอนุรักษนิยม ซึ่งขณะนั้นมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทนทางการเมืองที่สำคัญ แต่การปรากฏขึ้นครั้งแรกนี้ ยังไม่ได้ยืนยันความเป็นชื่อเฉพาะของระบอบการปกครองแต่อย่างใด[4] หากแต่การปรากฏขึ้นซ้ำในภายหลัง คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 และ พ.ศ. 2519 เป็นสองฉบับแรกที่ยืนยันความชอบธรรมของ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"[4]สมศักดิ์ได้ให้ความเห็นไว้อีกว่า หน้าที่ (function) ของการยืนยันในสองฉบับมีความต่างกัน โดยฉบับ พ.ศ. 2511 เพื่อต่อต้านการเมืองและพรรคการเมืองสมัยใหม่ที่เพิ่งปรากฏตัวขึ้น และฉบับ พ.ศ. 2519 เพื่อต่อต้านฝ่ายซ้าย[4]
ภายในระบอบการปกครองเช่นนี้ของประเทศไทย แตกต่างไปจากธรรมเนียมการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ที่จะมีอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน และพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขแต่ในทางพิธีการ ทั้งนี้ เพราะพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย มีพระราชอำนาจทางการเมืองเกินกว่าที่เป็นในประเทศประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญประเทศอื่น เช่น ทรงสามารถแสดงพระราชดำรัสสด, บริหารงานสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์[5] และแต่งตั้งบุคคลในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น องคมนตรี โดยไม่มีผู้สนองบรมราชโองการ [6]
สำหรับกรณีของประเทศอังกฤษซึ่งถือเป็นตัวอย่างของประเทศที่ยังคงมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น Penny Junor นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือของเธอว่า [7]
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว... มีพระมหากษัตริย์และพระราชินีปกครองแผ่นดิน. […] หนึ่งร้อยยี่สิบปีต่อมา, ภายหลังการเปลี่ยนแปลงหลายประการ (และช่วงเวลาสั้น ๆ ในศตวรรษที่สิบเจ็ด ซึ่งปราศจากกษัตริย์) พวกเรามีพระราชินีผู้ไร้ซึ่งอำนาจในการบริหาร, ผู้ซึ่งกระทำการต่าง ๆ โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี, ผู้ซึ่งอ่านพระราชดำรัสซึ่งผู้อื่นเป็นคนร่างขึ้น
สถาบันกษัตริย์จะต้องอยู่เหนือการเมือง เพราะองค์พระราชินีเป็นตัวแทนของชาติทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นสี, ความเชื่อ หรือการเมือง, ไม่ว่าจะด้วยสถานะ หรือสถานการณ์, หรือแม้กระทั่งยุคสมัยของพวกเขา - พระองค์เป็นศูนย์รวมของพลังภายในประเทศ เป็นเสมือนกาวประสานพวกเราเอาไว้ด้วยกัน และนั่นคือความเข้มแข็งของพระองค์. พระองค์เป็นของคนทุกคน, ด้วยไม่มีใครออกเสียงเพื่อพระองค์ และเสียงของพวกเขาจะไม่ถูกมอบให้กับใครอื่นอีก. หากว่าพระองค์ทรงแสดงความคิดเห็นซึ่งสามารถนำไปอ้างได้โดยพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง ย่อมสร้างความแบ่งฝักฝ่ายในหมู่เหล่าของประชากรโดยพลัน และนั่นย่อมก่อให้เกิดความแตกแยก และเมื่อพระองค์มิได้ทรงกระทำ - พระองค์ย่อมเป็นผู้ซึ่งไม่อาจหยั่งถึงได้อย่างถึงที่สุด
ทั้งนี้ หากกล่าวถึงการเป็นประมุขในทางพิธีการของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น ก็คือ เป็นพิธีการที่ทรงบริหารอำนาจอธิปไตยแทนปวงชนโดยแบ่งแยกอำนาจนั้นเป็นสามฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ อำนาจอธิปไตยนั้นผ่านมายังสภานิติบัญญัติที่เรียก "รัฐสภา" ฝ่ายบริหาร อำนาจอธิปไตยนั้นผ่านมายังกลุ่มผู้บริหารสูงสุดที่เรียก "คณะรัฐมนตรี" และฝ่ายตุลาการ อำนาจอธิปไตยนั้นผ่านมายังศาลทั้งหลาย ซึ่งมีสามประเภท คือ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ แต่ความจริงแล้ว องค์กรเหล่านั้นเป็นปวงชนหรือผู้แทนของปวงชนที่บริหารอำนาจด้วยตนเองเพื่อประโยชน์ของปวงชนและโดยการควบคุมของปวงชน ส่วนพระมหากษัตริย์เป็นแต่เชิดให้กิจการดำเนินไปด้วยดีตามพระราชภารกิจทางพิธีการที่รัฐธรรมนูญมอบให้เท่านั้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)