ตัววิ่ง

โค้ดตัวอักษรวิ่ง ยินดีต้อนรับสู่บล็อกสังคมศึกษาของนางสาวลลิตา รอดประเสริฐ

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

ลักษณะสังคมไทย


ลักษณะสังคมไทย 
.......1.เป็นสังคมที่มีโครงสร้างแบบหลวม ๆ คือ ผู้คนไม่เคร่งครัดต่อระเบียบ วินัย กฎเกณฑ์ ชอบความสะดวกสบาย สนุกสนาน การไม่เคร่งครัดต่อระเบียบวินัยเป็นผลให้เกิดความย่อหย่อนในการรักษา กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ และกติกาของสังคม 
.......2. เป็นสังคมเกษตร ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75 ประกอบอาชีพทางเกษตร 
.........3. เป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น ยึดถือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นสำคัญ เช่น ทรัพย์สมบัติ ความร่ำรวย ตำแหน่งหน้าที่การงาน อำนาจ ชื่อเสียง ฯลฯ 
.........4. เป็นสังคมที่มีการอพยพเคลื่อนย้ายไปสู่ถิ่นอื่นสูง เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ ยากจน อัตราการเกิดของประชาชนเพิ่มมากขึ้น อัตราการตายลดลง ทำให้ชาวชนบทอพยพเข้าเมืองหรืออพยพไปชนบทอื่น ๆ สูง ส่วนใหญ่เป็นการอพยพย้ายถิ่นแบบชั่วคราว เช่น ชาวอีสานไปรับจ้างในเมือง หรือเดินทางไปขายแรงงานในต่างประเทศ ฯลฯ
.........5. เป็นสังคมเปิด สังคมไทยยอมรับวัฒนธรรมต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความคิด วิถีดำเนินชีวิตไปจากเดิมเป็นอันมาก การพัฒนาประเทศจะให้ความสำคัญการพัฒนาวัตถุมากกว่าการพัฒนา จิตใจ สภาพวิถีชีวิตของบุคคลโดยเฉพาะสังคมเมืองเปลี่ยนแปลงไปโดยรวดเร็ว 

สังคมเมืองและสังคมชนบทของไทย 
สังคมของเมืองไทย 
..........สังคมเมืองมีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น มีการปกครองแบบเทศบาล บางแห่งมีการปกครองโดยเฉพาะ เช่น กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา สังคมเมืองมีความเจริญทางด้านวัตถุ เป็นศูนย์กลางความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข ฯลฯ 
ลักษณะและโครงสร้างของสังคมเมืองไทย 
.........1. พึ่งพาอาศัยกัน สังคมเมืองจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปด้วยกันเหมือนเครื่องจักร หากสิ่งใดหยุดชะงักสังคมเมืองจะประสบความยุ่งยากทันที 
.........2. มีการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ สมาชิกของสังคมเมืองมีแบบแผน วิถีดำเนินชีวิตในแต่ละกลุ่มแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิด ความเชื่อ ศาสนา และประสบการณ์ เพราะสมาชิกมาจากแหล่งต่าง ๆ กัน 
.........3. มีลักษณะความแตกต่างทางเศรษฐกิจสูง คือ สังคมเมืองมีทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง มีคนที่ประกอบอาชีพที่หลากหลาย เช่น พ่อค้า ข้าราชการ นักการเมือง นักธุรกิจ และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้มีระดับความแตกต่างของสมาชิกทางเศรษฐกิจสูง
.........4. การติดต่อสัมพันธ์กันมีลักษณะแบบทุติยภูมิ ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในสังคมเมืองมีมาก จึงมีการติดต่อกันตามสถานภาพ มากกว่าการติดต่อกันเป็นส่วนตัว หรือแบบปฐมภูมิ 
..........5. การรวมกลุ่มเป็นองค์กรเป็นไปในรูปแบบทางการ คือเป็นการคำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเองหรือของ กลุ่มตนเองมากที่สุด 
..........6. มีการแข่งขันกันสูง คือสังคมเมือง ผู้คนจะมีการแข่งขันกันสูง เป็นการแข่งขันเพื่อชัยชนะคู่แข่ง หรือเพื่อความอยู่รอดในสังคม คนในสังคมเมืองจึงเป็นโรคประสาทมากเมื่อเปรียบเทียบกับชาวชนบท 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น