ตัววิ่ง

โค้ดตัวอักษรวิ่ง ยินดีต้อนรับสู่บล็อกสังคมศึกษาของนางสาวลลิตา รอดประเสริฐ

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย
            วัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่อดีตของสังคมไทยที่ควรเปลี่ยนแปลง
                1. การทำงาน คนไทยมักทำงานจับจด ชอบทำงานสบายที่ได้เงินดีโดยไม่ต้องเปลืองแรง มักโทษโชคชะตาที่ไม่เข้าข้างตน ไม่มีระเบียบวินัย สิ่งที่จะต้องสร้างให้เกิดขึ้น คือ
             1.1 ความขยันและอดทน ทำงานหนัก และพึ่งตนเอง พื้นฐานของความสำเร็จของชีวิตและสังคมจะขึ้นอยู่กับความขยันและอดทนของแต่ละคนเป็นสำคัญ ในระบบการศึกษาของชาติที่พัฒนา เช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้สอนให้คนในชาติขยัน อดทน ทำงานหนักมาตั้งแต่เล็ก นักเรียนต้องศึกษาอย่างจริงจังต้องใช้เวลากับวิชาต่างๆอย่างมากพอ ต้องอดทนต่อการเรียนอย่างเต็มที่ ดังนั้นความสำเร็จในการศึกษาของนักเรียนของชาติที่พัฒนาจึงขึ้นอยู่กับความขยันการอดทนและการทำงานหนักของเด็ก และสิ่งนี้จะถูกปลูกฝังและสั่งสมไปจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่  เมื่อคนในชาติเหล่านี้มีคุณภาพสูงมาตั้งแต่ต้น พวกเขาก็จะกลายเป็นกลไลสำคัญที่ผลักดันให้ชาติของเขาเจริญก้าวหน้าและมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตลอดเวลา
                1.2 การมีระเบียบวินัย  ในสถาบันการศึกษาต้องสอนให้เด็กปฎิบัติตามระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ ไม่คุยกันหรือใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะอยู่ในห้องเรียน ซึ่งผลที่จะเกิดขึ้นคือเด็กจะคลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีระเบียนวินัย ทำตามกฎเกณฑ์และกติกาต่างๆของสังคมได้อย่างถูกต้อง
                2.ความเป็นระบบและบูรณาการ สังคมไทยจะสอนให้คนมองแบบแยกส่วน ไม่เชื่อมต่อกัน ไม่นิยมการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม สิ่งที่ควรปรับเปลี่ยนคือ การมองสิ่งต่างๆให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เช่น ศิลปะ ดนตรี พลศีกษา การทำงานบ้าน การบำเพ็ญประโยชน์ การทำงานร่วมกับชาวบ้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ควรจะนำมาเชื่อมโยงและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ ที่เท่าเทียมกันกับวิชาในชั้นเรียนกล่าวคือ ในกระบวณการเรียนการสอน นักเรียนจะต้องถูกเข้มงวดในเรื่องวิชาการ แต่ในขณะเดียวกัน นักเรียนจะต้องเคร่งครัดในเรื่องในการทำกิจกรรมในโรงเรียน สอนให้รักธรรมชาติ สอนให้ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน อบรมการเข้ากลุ่ม และการเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน
                3.ระบบอุปถัมภ์  ความสัมพันธ์ในลักษณะของการอุปถัมภ์ค้ำจุนกันระหว่างบุคคลในสังคมไทยถือเป็นวัฒนธรรมที่หยั่งรากฝังลึกกันมานาน การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานมักแต่งตั้งจากผู้ที่อยู่ใกล้ชิด หรือคนที่โปรดปรานเป็นพิเศษ โดยไม่ได้คำนึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคลเป็นเกณฑ์ มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การพัฒนาประเทศไทยไม่ก้าวไปข้างหน้าเท่าที่ควร ดังนั้นจึงควรมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมระบบอุปถัมภ์ให้เป็นระบบคุณธรรม ดังเช่นที่มีการใช้กันอยู่ทั่วไปในประเทศพัฒนา ได้แก่ ยึดถือความรู้ความสามารถเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคล ปฎิบัติต่อบุคคลอย่างเสมอหน้ากันโดยใช้ระเบียบและมาตรฐานเดียวกัน เปิดโอกาสให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ยึดมั่นในเส้นทางที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
                4.การฉ้อราษฎร์บังหลวง ในสังคมไทยการฉ้อราษฎร์บังหลวงเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ทราบกันโดยทั่วไป เช่น การจ่ายสินบนเพื่อให้ได้การผูกขาดกิจกรรมบางประเภท การยักยอกเงินค่าธรรมเนียมโดยไม่นำเงินส่งหน่วยงาน การรับเงินค่านายหน้า เมื่อมีการจัดซื้อของให้หน่วยงาน การสมยอมกันในการจัดซื้อการจ้างหรือให้สิทธิในการดำเนินการเพื่อจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะ อันทำให้มิได้มีการแข่งขันกันเสนอประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานของรัฐ และประเทศชาติอย่างแท้จริง ฯลฯ
                การฉ้อราษฎร์บังหลวงไม่เคยสร้างคุณค่าหรือประโยชน์ให้แก่สังคม แต่กลับทำลายศีลธรรมและจริยธรรมของชุมชน ทำให้การจัดสรรและการใช้งบประมาณขาดประสิทธิภาพ ทรัพยากรซึ่งควรจะนำไปใช้สามารถบริการสาธารณสุขที่ดี บริการการศึกษาที่ดี บริการสาธารณูปโภคที่ดี ฯลฯ กลับต้องไปตกอยู่มือของบุคคลจำนวนน้อย ซึ่งจะหมายถึงการสูญเสียโอกาสที่ดี สำหรับการพัฒาประเทศ ดังนั้นสิ่งที่ควรสร้างขึ้นคือ การสร้างและปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้เกิดขึ้นแก่คนไทยตั้งแต่เด็กรณรงค์ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงภัยของ การฉ้อราษฎร์บังหลวง สร้างช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการแจ้งเบาะแสและร้องเรียนเกี่ยวกับ การฉ้อราษฎร์บังหลวง และมีมาตรการตรวจสอบและลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเข้มงวด แม้ว่าจะเป็นนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงก็ตาม
แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ได้ให้ความสำคัญในประเด็นของการอนุรักษ์วัฒนธรรมไว้เช่นเดียวกันคือ
                1. บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
                2. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รับราชการทหาร เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปะวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
                3. รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปะวิทยาการต่างๆ เร่งรัดพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาวิชาชีพครู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ และวัฒนธรรมของชาติ
                4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีสิทธิที่จะจัดการศึกษาอบรม และการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่นนั้นและเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอบรมของรัฐ ซึ่งการตัดการศึกษาอบรมภายในท้องถิ่นนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องคำนึงถึงการบำรุงรักษาศิลปะ จารีต ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นด้วย
                ดังนั้นการรักษาและส่งเสริมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยก็คือ
                1. ส่งเสริมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยให้ดำรงคงอยู่อย่างยั่งยืนและมีพัฒนาการที่ดี
                2. ศึกษา ค้นคว้า และวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต การพัฒนาประเทศทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการป้องกันประเทศ
                3. สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในความสำคัญของวัฒนธรรม ที่มีต่อเอกลักษณ์ ศักดิ์ศรี ความสามัคคีและความมั่นคงของชาติ
                4. ปฏิบัติตนตามกรอบที่ดีงามของวัฒนธรรมไทย ทั้งต่อคนไทยด้วยกัน และต่อชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะการแสดงต่อชาวต่างชาติจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก เพราะนอกจากจะทำให้ชาวต่างชาติได้เห็นและเข้าใจวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยแล้ว ยังเป็นการประกาศศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิแห่งชาติที่มีอารยธรรมสูงชาติหนึ่งของโลกด้วย
                5. เผยแพร่วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยของทุกท้องถิ่นไปให้ประชาชนไทยทั้งประเทศได้รับรู้กันอย่าง กว้างขวาง ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนเข้าใจ เห็นคุณค่าและยอมรับวัฒนธรรมของท้องถิ่นซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่ความรักและหวงแหนในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของกลุ่มชนทุกหมู่เหล่าภายในชาติ
                6. สนับสนุนส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยกับต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างชาติ
                7. วางมาตรการให้หน่วยงานของรัฐและของเอกชน ที่ดำเนินงานด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ได้ประสานงานกันอย่างใกล้ชิด โดยการระดมสรรพกำลังทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อรักษาและส่งเสริมวัฒนธรรมให้มั่นคงเป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิตของประชาชน ตลอดจนร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม เพื่อให้วัฒนธรรมมีบทบาทสนับสนุนการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง อ่านเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น